Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


เหรียญพระมหาชนก พิมพ์ใหญ่ นาก ปี 2539

เหรียญพระมหาชนก พิมพ์ใหญ่ นาก ปี 2539
รหัสสินค้า : s6-0612
ชื่อสินค้า : เหรียญพระมหาชนก พิมพ์ใหญ่ นาก ปี 2539
รายละเอียด

เหรียญพระมหาชนก พิมพ์ใหญ่ ปี 2539 (เหรียญแห่งความเพียร-วิริยะบารมี) นาก หนัก 24.38 กรัม

 


    เหรียญแห่งความเพียร         23 มิถุนายน 2548

    เมื่อครั้งดำเนินการจัดทำหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้จัดสร้างเหรียญพระมหาชนกคู่เคียงกันไปด้วย ในครั้งนั้นศิลปินและประติมากรร่วมกันออกแบบถวาย เพื่อทรงวินิจฉัยหลายแบบด้วยกัน แต่ทรงมีพระราชปรารภว่า ควรเป็นรูปที่พระมหาชนกกำลังว่ายน้ำ และหันมาสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งแนวพระราชดำรินี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้เคยทรงร่างเป็นภาพลายเส้นไว้ จึงได้นำมาเป็น ต้นแบบที่ด้านหนึ่งของเหรียญ พร้อมกำกับอักษรว่า"พระมหาชนก ” เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเทวนาครีไว้

    เหรียญพระมหาชนกจัดสร้างขึ้นพร้อมกับงานพิมพ์พระราชนิพนธ์ ด้วยนัยแห่งพระราชดำริ อันพ้องกับคติธรรม ซึ่งดำรงอยู่ในเรื่องราวแห่งพระชาดกนั้น
    “ ที่ต้องมีเหรียญนี่ เป็นพระราชดำริที่ลุ่มลึกมากนะครับ ” อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ประติมากรผู้ปั้นแบบเหรียญพระมหาชนกอธิบาย 

“ เพราะหนังสือ เมื่อเราอ่านแล้ว เราก็วางไว้ กับบ้าน เวลาเราไปไหน บางครั้งอาจจะลืม เหรียญนี่เป็นขนาดเล็กติดตัวไปได้ ซึ่งเหรียญนี้ไม่ได้บรรยายความว่าเป็นเรื่องอะไร แต่ว่า ให้เป็นเหรียญที่ระลึกนึกถึงสิ่งที่เราได้เคยอ่านจากหนังสือ เวลาที่เรา เกิดความท้อแท้ เหรียญนี้จะคอยเตือนเราว่า เราควรจะมีความเพียรนะ" เพราะ ฉะนั้น หน้าที่ของเหรียญ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของการบรรยายความ แต่เป็นหน้าที่ ของการเตือนให้ผู้ที่มีเหรียญ ได้ระลึกถึง “ พร ” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้เขาว่า ทุกคนควรจะมีความเพียร ไม่ควรท้อแท้ ถึงแม้ว่า จะไม่เห็นจุดหมายปลายทางของความเพียร แต่เราก็ควรจะดำเนินต่อไป”

    งานจัดสร้างเหรียญผ่านกระบวนการปั้น แกะบล็อก หล่อ จนถึงการพิมพ์ออกเป็นเหรียญ แต่ทว่า ก็ยังไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายดังเช่นงานจัดสร้างเหรียญ ทั่วไป ซึ่งอาจารย์นนทิวรรธน์ ได้เล่าให้ฟังว่า “ ใช้มือแฮน เมด (hand made) นี่ขัดลงไปบนพื้นผิว มีการรมให้คล้ำเล็กน้อย เพื่อจะให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่ขึ้นบนพื้นผิวของเหรียญ เราจะสังเกตเห็นว่า เหรียญของพระมหาชนก จะเป็นเหรียญที่มีความนุ่มนวลมากทั้งในเรื่องของผิวสัมผัส และน้ำหนักอ่อนแก่ที่เกิดขึ้น นอกเหนือไปจากแสงเงาในเหรียญแล้ว ”

    อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ปรากฏพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์ธรรมดา พระหัตถ์ทรงดินสอและแผนที่ ที่พระศอปรากฏสายสะพายกล้องถ่ายรูป อันเป็นภาพที่ชาวไทยคุ้นตามานานกว่า ๕๐ ปี

        “ รูปนี้ คณะกรรมการหรือพวกเราซึ่งเป็นผู้ที่ได้ช่วยกันเลือกนี่ เห็นว่าเป็นรูปที่จะได้แสดงความหมายของพระมหากษัตริย์ของเราชัดเจน” อาจารย์นนทิวรรธน์กล่าว  “ เพราะจะเห็นว่าชีวิตเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของพระองค์ อยู่ท่ามกลางพสกนิกรที่กำลังมีปัญหา และทรงช่วย แก้ปัญหานั้นทุกอย่างให้ลุล่วงไปได้.....”

    รูปแบบของเหรียญพระมหาชนก ไม่ปรากฏลวดลายประดับ เพื่อภาพวิจิตรในเชิงความงามอันตระการ แต่รูปลักษณ์ซึ่งสมถะ กลับสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งธรรม “ จะเห็นว่ารูปนี้ เป็นเหรียญที่มีลักษณะเรียบง่าย และสื่อความหมาย ในเรื่องของความเพียรเป็นหลัก ”  อาจารย์นนทิวรรธน์เสริม “ แล้วก็มีตัวหนังสือที่จะสื่อความหมายได้บ้าง มีตราพระปรมาภิไธยย่อ เพื่อแสดงว่าเป็นเหรียญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ”     ค่าแห่งเหรียญพระมหาชนกย่อมประมาณราคามิได้ เช่นเดียวกับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระราชนิพนธ์ เพื่อทรงบอกเล่าเรื่องราวแห่งความเพียร และเหรียญพระมหาชนก คือสิ่งอันเตือนความจำถึงความเป็นไปแห่งข้อธรรม จากบทพระราช นิพนธ์นั้น

    “ มีรับสั่งว่า เหรียญนี้แทบไม่จำเป็นต้องปลุกเสกเลย เพราะว่าขลัง แค่ความเพียรนี่ก็ขลังพอแล้ว ”ศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ หนึ่งในศิลปินผู้ถวายงานวาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์เล่าถึงความประทับใจ “ เหรียญนี้เกี่ยวกับความมานะ ความเพียร ความอุตสาหะ มันขลังยิ่งกว่าอะไรในโลก ขลังยิ่งกว่าพระเข้าไปสวดอีก นี่คือพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ประทับใจผมมาก ผมรับจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน ผมแขวนอยู่องค์เดียวเลยตลอดเวลา และนึกอยู่เสมอ อันนี้นะไม่ใช่แขวนแล้วพระจะช่วยอะไรเรา เรานึกถึงพระ ทำให้เรามีกำลังใจว่า เราจะทำอย่างนี้ เราจะทำให้สำเร็จ.”

บทความนี้เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากบทโทรทัศน์สารคดีรายการ “ในหลวงกับประชาชน” ชุด พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ที่ปรึกษารายการ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ  ประธานคณะทำงาน โครงการจัดสร้างเหรียญ และ หนังสือพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”
ออก อากาศทางสถานีโทรทัศน์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ช่อง๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑ และ ไอ.ที.วี. แบ่งเป็นตอน จำนวนทั้งสิ้น ๑๖ ตอน บทสัมภาษณ์วิทยากรในบทความบันทึกเมื่อปี ๒๕๔๑ ตำแหน่งทางวิชาการต่างๆจึงคงไว้ในขณะให้สัมภาษณ์
ปัณฑา สิริกุล เรียบเรียงและเพิ่มเติม.

บทความอื่นในหมวด

บทนำ  - พลังศักดิ์สิทธิ์แห่งพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ตอนที่๑- หนังสือที่ทรงรัก ตอนที่๒- ความเพียร สติ และปัญญา ตามนัยแห่งพระราชนิพนธ์ ตอนที่๓-  เหรียญพระมหาชนก ตอนที่๔- พระชาดกเป็นเรื่องจริงหรือเพียงตำนานเล่าขาน ตอนที่๕- ปริศนาธรรมจากต้นมะม่วงในพระราชนิพนธ์ ตอนที่๖- กว่าจะเป็นงานจิตรกรรมประกอบพระราชนิพนธ์ ตอนที่๗- ความหมายของงานจิตรกรรมในพระราชนิพนธ์ ตอนที่๘- ศิลปะในสมัยรัชกาลที่ ๙ ตอนที่๙- ความนัยแห่งภาพเขียนประกอบพระราชนิพนธ์ ตอนที่๑๐- การศึกษาเพื่อสร้างมนุษยแท้

ข้อมูลเหรียญ เหรียญพระมหาชนกเป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะกำลังทรงงาน และด้านหลังเป็นรูปพระมหาชนกกำลังว่ายอยู่ในมหาสมุทร เหรียญพระมหาชนกจะแบ่งออกเป็นจำนวนพิมพ์ดังนี้        

1.เหรียญพระมหาชนกชุดใหญ่ จะแบ่งออกเป็น เนื้อทองคำ หนัก 34 กรัม เนื้อเงินหนัก 21 กรัม เนื้อนากหนัก 24 กรัม และหนังสือพระมหาชนกเล่มสีน้ำเงินปกแข็ง 

2.เหรียญพระมหาชนกเนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ จะแบ่งออกเป็น เนื้อเงินใหญ่ กับหนังสือพระมหาชนกเล่มสีแดงปกแข็ง        

3.เหรียญพระมหาชนกชุด เล็ก จะแบ่งออกเป็น เนื้อทองคำ หนัก 9.3 กรัม เนื้อเงิน หนัก 7 กรัม เนื้อนากหนัก 7 กรัม และหนังสือพระมหาชนกเล่ม้ำเงินปกอ่อน        

4.เหรียญพระมหาชนกเนื้อเงิน พิมพ์เล็ก จะแบ่งออกเป็น เนื้อเงินเล็ก กับหนักสือพระมหาชนกเล่มสีแดงปกอ่อน ปีที่ผลิตจะเป็นปี 2539

วิธีสังเกตุเหรียญ      ด้านหน้า     

1.ยอดฉัตรจะดูเอียงเล็กน้อย มาทางด้านซ้ายนิดๆ     

2.ตัวอักษร ภปร และ ข้อความด้านล่าง จะออกเงา สวย     

3.ก้านแว่นจะไม่ตรงโค้งๆ นิดๆ และจะคมชัดตั้งแต่พระเนตร           จนถึงพระกันต์  

4.ผิวพื้นเหรียญจะเป็นแบบเม็ดทรายละเอียด     

5.ถ้านับเส้นคันตรงหนังสือจะนับได้ 4

ด้านหลัง

1.ยอดฉัตรจะเอียงเล็กน้อย มาทางด้านขวามือ

2.ลายน้ำจะมีความคมชัด และลวดลายสวยงาม

3.ตัวอักษร ข้อความด้านล่าง จะออกเงา สวย



วิณียา อัจจาทร

"หนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้า"

"หนังสือนี้ไม่มีที่เทียม และจะเป็นที่ร่าเริงใจของผู้อ่าน"

"ต้องการให้เห็นว่าสำคัญที่สุดคนเราทำอะไรต้องมีความเพียร"

"ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์"

นี่ เป็นส่วนหนึ่งในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2539 ระหว่างที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินออก ณ พระที่นั่งดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ซึ่งได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สื่อมวลชนเข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท โดยได้แจ้งให้ทราบว่า หนังสือพระราชนิพนธ์เล่มล่าสุดของพระองค์ท่านเรื่อง "พระมหาชนก" เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งทรงเชื่อมั่นว่าได้ทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญที่สุดในรัชสมัยแห่งมงคล ชัยในชีวิตประชาชนชาวไทย อันหาที่เปรียบไม่ได้ โดยที่ก่อนหน้านี้ในหลวงทรงพระราชนิพนธ์ 2 เรื่อง คือนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เมื่อปี 2536 และเรื่องติโต้ เมื่อปี 2537

 

เวลานี้พระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ได้พิมพ์เผยแพร่ ออกสู่สายตาผู้อ่านจำนวนมาก จัดพิมพ์โดยบริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) ทั้งที่เป็นฉบับปกแข็ง ขนาด 11 คูณ 11 นิ้ว บรรจุกล่องสวยงาม นอกจากเนื้อหา ที่ทรงคุณค่าแล้วยังมีภาพวาดประกอบของจิตรกรชื่อดัง 8 คน คือ จินตนา เปี่ยมศิริ, ประหยัด พงษ์ดำ, พิชัย นิรันต์, ปรีชา เถาทอง, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร, ธีระวัฒน์ คะนะมะ, เนติกร ชินโย พิมพ์ลายสีสวยสดใส ทำให้หนังสือน่าอ่านและน่าเก็บรักษาไว้

 

 

รวมทั้งได้ทรงโปรดฯ ให้จัดพิมพ์ฉบับปกอ่อนเพื่อให้พสกนิกร ได้มีโอกาสอ่านกันอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีบรรจุในแผ่นซีดี และ มีเหรียญพระมหาชนกทั้ง เนื้อเงิน และเนื้อนาก เพื่อให้ประชาชนนำไป สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับเหรียญนั้น ด้านหนึ่งเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระอิริยาบถที่มีหยาดพระเสโทที่ พระนาสิก เขียนข้อความ "วิริยะ PERSERVERANCE" และ อักษาเทวนาครี อีกด้านหนึ่ง เป็นภาพพระมหาชนกในมหาสมุทร ขณะทรงสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งปั้นจากต้นแบบ ภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์

เหรียญเหล่านี้ได้ผ่านพิธีชัยมังคลาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร

โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานนั่งปรก

พร้อมด้วยพระคณาจารย์อีกหลายรูป อาทิ

หลวงตามหาบัว ญาณสังปันโน,

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่

หลวงพ่อเปิ่นวัดบางพระ,

หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน

ในพิธีดังกล่าว สมเด็จพระสังฆราชตรัสว่า "ไทยเราในขณะนี้แม้เปรียบกับพระมหาชนก ย่อมมีอันตรายเบากว่ามากมายนัก วิกฤตก็แตกต่างกัน แต่สามารถบำเพ็ญวิริยบารมีให้เกิดผลสำเร็จอย่างวิเศษยิ่งได้เช่นเดียวกัน ขอให้ตั้งใจแผ่ความปรารถนาดีไปให้ทั่วถึงเพื่อนร่วมทุกข์ทั่วหน้าให้สามารถ คิดถึงอนุภาพความเพียร คือวิริยบารมี แล้วทุ่มกำลังกายกำลังใจ ให้สามารถประคับประคองประเทศชาติให้พ้นวิกฤตการณ์ขณะนี้ให้ได้และโดยเร็ววิ ริยบารมีสำคัญ และพลังจิตสำคัญและสำคัญสำหรับนำมา ประคองวิริยบารมีให้เกิดผลเต็มที่ด้วย นั่นคือให้มีกำลังใจเข้มแข็งเต็มที่ ที่จะพยายามทำแต่ความดี วิริยะในการทำดีเท่านั้นที่จะถูกที่จะให้ พ้นทุกข์ทั้งหลายได้ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกล่าวไว้ว่า โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพึงตั้งเพียรทำใจให้ดี ให้มั่นคงในการดีทั้งปวง ให้พ้นการไม่ดีทั้งปวงงานมงคลนี้จะสำเร็จด้วยดี เกิดคุณประโยชน์แก่ ผู้คนที่กำลังทุกข์ร้อนทั้งปวง"
ก่อน ที่จะอ่านเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" มีพระราชปรารภให้เห็นถึงที่มาว่า "เมื่อ พ.ศ. 2520 พระองศ์ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธัมมสาโร มหาเถร) วัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนก เสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลา เรื่องมีใจความว่า ที่ทางเข้าสวนหลวงมีต้นมะม่วงสองต้น ต้นหนึ่งมีผล อีกต้นหนึ่ง ไม่มีผล ทรงลิ้มรสมะม่วงอันโอชาแล้วเสด็จเยี่ยมอุทยาน เมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวง ทอดพระเนตรเห็นมะม่วงที่มีผลรสดี ถูกข้าราชบริพารดึงทึ้งจนโค่นลง ส่วนต้นที่ไม่มีลูกก็ยังคงตั้ง อยู่ตระหง่าน แสดงว่าสิ่งใดดี มีคุณภาพ จะเป็นเป้าหมายของการยื้อแย่งและจะเป็นอันตรายใน ท่ามกลางผู้ที่ขาดปัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฏกขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2) และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนก ชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่องโดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น พระมหาชนกบำเพ็ญวิริยะบารมีไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลาด้วยพระปรีชาสามารถ
 
มา ถึงตอนเรื่องต้นมะม่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การที่พระมหาชนก จะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรมยังไม่ถึงเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ ครบถ้วน กล่าวคือข้าราชบริพาร"นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้าง รักษาม้าและนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งวิทยาการ ทั้งทางปัญญายังไม่เห็นความสำคัญ ของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ" อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่ เก้าวิธีอีกด้วย ด้วยประการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องในมหาชนกชาดกให้ เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน โดยมีพระราชดำริว่าพระมหาชนกจะบรรลุโมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้ ประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้ครบถ้วนก่อน รูปที่ประกอบเรื่องเป็นฝีมือของศิลปินไทย ซึ่งได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังความคิดอย่าง เต็มที่ เพื่อถ่ายทอดความงามของเรื่องนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลมหาชนกชาดกเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ในโอกาศเฉลิมฉลองกาญจนภิเษก แห่งรัชกาล ให้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของสาธุชนทั้งหลาย" ขอจงทรงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 9 มิถุนายน 2539 นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษประธานคณะทำงาน สร้างเหรียญและพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ได้สรุปที่มาของพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ว่า "ระหว่าง 50 ปีที่ทรงครองราชย์ทรงผ่านพ้นอุปสรรคนานาชนิด อุปสรรคนั้นคือวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เกิดเหตุ เภทภัย ลุกลามถึงประชาชน โดยที่พระองค์ทรงเปรียบเสมือนพระพรหมของประชาชนทุกคน เมื่อมี เหตุการณ์ก็พึ่งพระองค์ ขณะที่บ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ พระองค์รับสั่งกับผู้ที่ทำให้เกิดเรื่องก็จะ สงบทันที ชึ่งไม่มีที่ไหนในโลกนับว่าทรงเป็นมิ่งขวัญของประชาชน ชาวไทยยากหาผู้เปรียบปาน
ในหลวง ทรงลำบากมากกกว่าชาวไทยเป็นไหน ๆ ปัจจุบันไม่เคยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ไหน ทรงเหนื่อยมาก ๆ เหมือนพระองค์ ทรงงานจนพระเสโทไหล ยากที่สามัญจะทำไดั ทรงเป็นยอดมนุษย์ ยิ่งภาวะปัจจุบันคนไทยต้องมีความเพียรอดทน ไม่ย่อท้อโดยยึดเอาแบบอย่างจากพระองค์ก็จะประสบ ความสำเร็จในชีวิต สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงอ่านแล้วถึงกับตรัสว่า ถ้าใครได้อ่านแล้วมีปรัชญาชีวิต สิ่งที่ดีงามสอนให้ผู้คนอดทนไม่ท้อแท้ เหมาะสมกับยุคนี้ ทันสมัยทันต่อ เหตุการณ์ถ้าอ่านให้ลึกซึ้งจริง ๆ ประชาชนชาวไทยคงไม่มีใครฆ่าตัวตาย ทรงแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป เป็นประโยชน์ทิ้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงถอดประวัติของพระองค์ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ครองราชย์ ทรงประสบอุปสรรค ความยากลำบาก เหมือนพระมหาชนกเมื่อเรือแตกก็ทรงว่ายน้ำถึง 7 วัน จนเทวดามาช่วย ในหลวงก็ทรงประสบวิกฤต แต่ทรงมีความเพียรไม่ท้อแท้ ซึ่งบางคนก็มีความเพียรอยู่แต่ท้อแท้ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต และเหรียญที่จัดสร้างขึ้นนี้ไม่ใช่เครื่องรางของขลัง แต่เป็นสิ่งเพิ่มกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต เป็นประทีปส่องทาง" ใครที่ได้อ่านเรื่องพระมหาชนกต่างพูดตรงกันว่า พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทางด้าน วรรณกรรมยิ่งนักทรงใช้ภาษาที่กระชับ สละสลวยอ่านง่าย แสดงให้เห็นชัดแจนว่าพระองค์ท่านทรงได้ศึกษา เรื่องที่จะเขียนและทรงมีความรู้อย่างลึกซึ้ง พระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์นี้ เป็นวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก ซึ่งเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้าย ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีของพระมหาชนก วิริยะบารมี" ซึ่งเต็มไปด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด บทแรกขึ้นต้นว่า ในอดีตกาลอันพ้นคณนาวิสัย ครั้งหนึ่งพระราชาพระนามว่า มหาชนก ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระเจ้ามหาชนกนั้น มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่าอริฏฐชนก และโปลชนก พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่องค์พี่ และตำแหน่ง เสนาบดีแก่องค์น้อง กาลต่อมาพระมหาชนกเสด็จสวรรคต พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติ และทรงรั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช
วัน หนึ่งอมาตย์ผู้ใกล้ชิดกราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกหลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนกแต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราช จึงเสด็จหนีไปจนถึงเมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมาทรงมีประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "พระมหาชนก" จบจนกระทั่งพระมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริงก็คิดจะไปค้าขายแล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทรเรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดเหลือแต่พระมหาชนก รอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลา และสนทนาธรรมในเรื่องของความเพียรในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่ง ยังมิถิลานคร เนื้อเรื่องหลังจากนี้น่าติดตามมาก ดังที่พระองค์รับสั่งว่า "ตัวหนังสือบางอย่างหรือ คำบางอย่างได้ดัดแปลงให้ตรงกับความคิดสมัยใหม่นี้บ้าง ที่อาจไม่เป็นประโยชน์แก่คนปัจจุบันก็ ได้ละเว้น และได้ตกแต่งส่วนใหม่ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน

เหรียญที่ระลึกพระมหาชนก (พิมพ์เล็ก)  พ.ศ.2539 น้ำหนัก 9.3 กรัม จำนวนผลิต 25,000  ธรรมดา

เหรียญที่ระลึกพระมหาชนก (พิมพ์ใหญ่)  พ.ศ.2539 น้ำหนัก 34 กรัม จำนวนผลิต 8,000  ธรรมดา


เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง ในหนังสือ "พระมหาชนก" (ในหลวง ทรงพระราชนิพนธ์ ปี2539)

ลองกดลิงค์อ่านดูนะครับ

http://board.palungjit.com/f178/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81-242792.html

 

ราคา : .00 บาท
จำนวน : Pcs.