Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


พระประธานวัดระฆัง(ยิ้มรับฟ้า) รุ่น100ปี ปี2515 (ในหลวงเททอง)

พระประธานวัดระฆัง(ยิ้มรับฟ้า) รุ่น100ปี ปี2515 (ในหลวงเททอง)
รหัสสินค้า : k9-0006.686
ชื่อสินค้า : พระประธานวัดระฆัง(ยิ้มรับฟ้า) รุ่น100ปี ปี2515 (ในหลวงเททอง)
รายละเอียด

.....ในหลวงเสด็จเททอง และประกอบพิธีพุทธาภิเษก....

พระบูชา 5 นิ้ว พระประธานวัดระฆัง ครบ 100 ปี มตกาล สมเด็จโต  วัดระฆัง  ปี 2515 สร้าง 515 องค์ (เลข 686)

มีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตา ค้าขาย และแคล้วคลาดปลอดภัย จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นมากมาย

 

เรื่อง ราวพิธีกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคล “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี” แห่งมตกาล (กาลแห่งมรณภาพ) ของท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม” ก็ได้กล่าวมาโดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า “วัตถุมงคล” รุ่นนี้จึงถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” เพราะ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองปูชนียวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นปฐมมหามงคลราชาฤกษ์ครั้งหนึ่งแล้ว และต่อมา ล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้ง “ทรงจุดเทียนชัย, เทียนนวหร คุณ, เทียนพระวิปัสสี” และ “ทรงพระสุหร่าย” พร้อม “ทรงเจิม” รวมทั้ง “ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้” ปูชนียวัตถุมงคลรุ่นนี้ครบถ้วนแห่งพิธีกรรม

ดัง นั้นก่อนจะจบเรื่องราวของวัตถุมงคลรุ่นนี้ ผู้เขียนขอนำเกร็ดความรู้เพิ่มเติมมานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านในส่วนที่เกี่ยว กับวัตถุมงคลชุดนี้ดังนี้

๑.ศาสตราจารย์สนั่น ศิลากร ศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นศิษย์เอกของ “ท่านศาสดาจารย์ศิลป์ พีระศรี (ศาสดาจารย์โคราโด เฟโรจี) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย “ศิลปากร” โดย “ศาสดาจารย์สนั่น” เป็นผู้ปั้นรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขนาดเท่าองค์จริงสำหรับประดิษฐาน ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม ขนาด ๙ นิ้ว และ ๕ นิ้ว นอกจากนี้ ศาสดราจารย์สนั่น ยังเป็นผู้ออกแบบปั้น “ต้นแบบเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จโต” แล้วมอบให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ นำไปดำเนินการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกในครั้งนี้ด้วย ๒.นายโต ขำเดช เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปฝีมือดีมีผลงานการปั้นพระพุทธปฏิมาประธานมากมายเช่น พระพุทธรูปประธานของ “สมเด็จพระเชษฐภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา” ใน “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖” พระพุทธรูปของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลถนอม กิตติขจร พระประธานขนาดใหญ่หน้าตัก ๘ วา ที่ห้างวิเศษนิยมเป็นเจ้าภาพถวายวัดที่อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี และเป็นประติมากรรับซ่อมพระมงคลบพิตร ในพระราชวังโบราณกรุงเก่า ในนามของ กรมศิลปากร และผลงานการปั้นออกแบบ “พระพุทธโคดม” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ วัดไผ่โรงวัว (วัดโพธาราม) จ.สุพรรณบุรี และการที่ นายโต ขำเดช มาปั้นพระพุทธรูปจำลองพระประธานยิ้มรับฟ้า รุ่น “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” ในครั้งนี้นั้นเนื่องจากเป็นการขอร้องของ ม.ล.เนื่องพร สุทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดและผูกพันกันมาตั้งแต่เมื่อครั้ง ม.ล.เนื่องพร ยังเป็นเด็กและได้เห็นฝีไม้ลายมือของ “นายโต” ที่ทำการสร้างสรรค์งานปั้นพระพุทธรูปมาช้านาน จึงได้ขอร้องให้เห็นแก่งานสำคัญที่สุดในชีวิตที่ได้มาปั้นพระพุทธรูปพระ ประธานวัดระฆังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อ เป็น ปฐมมงคลราชาฤกษ์ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้นายโตจึงรับงานนี้ด้วยความเต็มใจเพื่อฝากผลงานสำคัญชิ้นนี้ไว้ใน แผ่นดินและแม้ว่าขณะนั้น (ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔) นายโต จะมีอายุมากแล้วแต่ผลงานก็มิได้ทำให้ ม.ล. เนื่องพร ตลอดทั้งคณะกรรมการจัดสร้างรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง “ผิดหวัง” แต่ประการใด ๓.นายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นนายช่างที่ฝากผลงานในรูปแบบพระเครื่อง “ขนาดเล็ก” เช่น “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ไว้มากมายโดยในรอบระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๓๕ และที่รู้จักกันดีก็คือ “พระกริ่งอาจารย์ไสว” รุ่นต่าง ๆ และรุ่นที่พระอาจารย์ไสวเป็นเจ้าพิธีทำการผสมเนื้อโลหะและเททองเองเช่น “พระกริ่งจอมสุรินทร์ปี ๒๕๑๓, พระกริ่งมหาราชวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ปี ๒๕๑๒, พระกริ่งนเรศวรเมืองงายปี พ.ศ. ๒๕๑๒, พระกริ่งศรีนคร, พระกริ่ง จปร.วัดราชบพิธปี ๒๕๑๓, พระกริ่งอวโลกิเตศวรหลวงพ่อเกษม เขมโกปี ๒๕๑๘, พระกริ่งนางพญา, พระกริ่งธรรมราชา, พระกริ่งตากสิน, พระกริ่งลพบุรี, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, พระกริ่งเอกาทศรถ ฯลฯ” ก็ได้อาศัยฝีมือนายช่างเกษมมาทำการ “ออกแบบและแกะแม่พิมพ์” พร้อมควบคุมการผลิต “พระผงพิมพ์สมเด็จ, พระผงพิมพ์รูปเหมือน” และ “พระกริ่ง-พระรูปเหมือนสมเด็จโต” โดยนายช่างเกษมระบุว่ารุ่นนี้ได้ตั้งใจทำเต็มที่เพราะมีความศรัทธาสมเด็จโต เป็นทุนเดิมประกอบกับเคยตั้งใจว่าจะต้องสร้างวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับ “สมเด็จโต” แต่ยังไม่มีโอกาสดังนั้นเมื่อได้รับการติดต่อให้มาร่วมออกแบบ ในรูปแบบพระเครื่องจึงทำการจัดสร้างอย่างตั้งใจด้วยการยึดถือ “ความสุจริต” ในการทำงานโดยไม่มี “การสร้างเสริม” หรือ “สร้างเพิ่ม” แต่อย่างใดและปัจจุบันนายช่างเกษมอายุมากแล้วจึงยุติการรับงาน โดยหันไปปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

๔.ในพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จโต” นั้น

“หลวง ปู่โต๊ะ” (พระราชสังวราภิมณฑน์) ครั้งยังสมณศักดิ์ที่ “พระครูวิริยกิตติ” ได้รับอาราธนานิมนต์มาร่วมพิธีด้วยอีกรูปได้บอกกับลูกศิษย์ว่า

ในพิธีมหาพุทธาภิเษกได้นิมิตเห็น สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาเวียนประทักษิณประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่กองวัตถุมงคลทั้งหมดจนครบ ๓ รอบ

เป็น ที่ฮือฮาแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของ “หลวงปู่โต๊ะ” ในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่งพร้อมเช่าบูชาวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี รุ่นนี้คนละมากมายหลายแบบตาม ๆ กัน.

http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=563


ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2515

ปี พุทธศักราช 2515 ที่จะมาถึงในขณะนั้น อันเป็นปีที่การมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เวียนมาบรรจบครบ 100 ปี ประกอบกับวัดระฆังโฆสิตารามเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งกรุงรัตน โกสินทร์ ถาวรวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากเกินกำลังของทางวัดที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์โดยลำพัง   ม.ล.เนื่อง พร สุทัศน์ เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาทุนในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและส่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อพระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามสมัยนั้น ใช้ชื่อโครงการดังกล่าวว่า โครงการสร้างปูชนียวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํงสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประธานฝายสงฆ์ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส

พิธี ในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี แห่งการมรณภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ประกอบไปด้วยพิธีทั้งทางสงฆ์และพรหมณ์ รวมทั้งสิ้น 3 วาระด้วยกัน

วาระแรก ประกอบพิธิพุทธาภิเษกทองชนวนและผงมวลสาร

หมาย กำหนดการวาระแรก วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2514 พิธีการในส่วนนี้จัดขึ้นตามแบบขนบธรรมเนียมทั้งพิธีสงฆ์ และ พิธีพราหมณ์ มีการประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญบารมีแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทำพิธีบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดา

วาระที่ 2 ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาจำลองและรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต

หมายกำหนดการวาระที่ 2 วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 พิธิการในวาระที่สองนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาเททองเป็นปฐมฤกษ์ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. และทรงปลูกต้นจันทน์หน้าหอพระไตรปิฎกด้วย

วาระที่ 3 ประกอบพิธิพุทธาภิเษกพระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่าง ๆ

หมาย กำหนดการวาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ ในวาระที่สามนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก และทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนั้นประกอบไปด้วย

1.พระพุทธรูปจำลององค์พระประธาน ขนาดบูชา (ออกแบบปั้นโดย นายโต ขำเดช)

ขนาด 9"   เนื้อนวโลหะ     สร้างจำนวน  85 องค์ (ตามอายุสมเด็จโต)

ขนาด 9"   เนื้อโลหะผสม  สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)

ขนาด 5"   เนื้อโลหะผสม  สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)

2.พระกริ่งจำลององค์พระประธาน (ออกแบบแกะพิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ)

เนื้อทองคำ  สร้างจำนวน 515 องค์

เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 5,000 องค์

เนื้อเงิน        ไม่ทราบจำนวน

3.รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต ขนาดบูชา (ออกแบบปั้นโดย อ.สนั่น ศิลากร)

ขนาด 9"   เนื้อโลหะผสม  สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)

ขนาด 5"   เนื้อโลหะผสม  สร้างจำนวน ตามสั่งจอง

4.รูปเหมือนลอยองค์สมเด็จพุฒาจารย์โต เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ

5.เหรียญสมเด็จพุฒาจารย์โต (ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ สนั่น ศิลากร)

มี 2 ขนาดคือ ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เซนติเมตร , ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร

เนื้อทองคำ ทั้ง 2 ขนาดๆละ 1,000 เหรียญ  พิมพ์ใหญ่ หนัก 13 กรัม(ไม่รวมห่วง) , พิมพ์เล็ก หนัก 6 กรัม(ไม่รวมห่วง)

เงิน            ทั้ง 2 ขนาดๆละ 2,514 เหรียญ

ทองแดง    ทั้ง 2 ขนาดๆละ 84,000 เหรียญ

ชุดกรรมการ  เนื้อทองคำ ขนาด 4.1 ซม. ทูลเกล้าถวายในหลวงและราชินี  ,   เนื้อทองแดง มีขนาด 7 ซม. และ 4.1 ซม. มอบแก่ผู้มีอุปการะคุณในการช่วยเหลือ ทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย


6.พระผงพิมพ์พระสมเด็จ และ พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต (โดย พระครูใบฎีกาโชคชัย และ นายช่างเกษม)

จำแนก เป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม , พิมพ์สมเด็จคะแนน , และ พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโต  จำนวนพิมพ์ละ 84,000 องค์(เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์)

 

คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรก

พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

พระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ

พระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวราราม

พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

พระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

พระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ

พระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ

พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร

พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี

คณาจารย์ร่วมพิธิใน วาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515  พระพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ

สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธ

พระธรรมวโรดม วัดสังเสชวิศยาราม

พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิราชาวาส

พระพรหมมุนี วัดราชผาติการาม

พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม

พระธรรมปัญญาจารย์ วัดโสมนัสวิหาร

พระธรรมปัญญาบดี วัดสามพระยา

พระธรรมปิฎก วัดปทุมคงคา

พระพิธีในมณฑลวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม

พระธรรมเจดีย์ วัดทองนพคุณ

พระเทพมุนี วัดอรุณราชราราม

พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิขัยญาติการาม

พระเทพวรมุนี วัดพระเชตุพน

พระเทพวรเทวี วัดปากน้ำภาษีเจริญ

พระเทพญาณมุนี วัดราชโอรสาราม

พระเทพเมธี วัดเศวตฉัตร์

พระธรรมมหาวีรานุวัตร์ วัดไตรมิตร

พระโสภณวราภรณ์ วัดอรุณราขวราราม

พระสังวรกิจโกศล วัดราชสิทธาราม

พระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี

พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม

พระราชสิงหวรมุนี (ทรัพย์) วัดสังฆราชาวาส

พระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่า

พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดาราม

พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิต

พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์

พระวิบูลเมธาจารย (เก็บ) วัดดอนเจดีย์

พระวิบูลย์วชิรธรรม (สว่าง) วัดคฤหบดีสงฆ์

พระโสภณธรรมมุนี (พ่วง) วัดศรีโคมคำ

พระพรหมจักสังวร (พรหมา) วัดพระบาทตากผ้า

พระสังวรกิจโกศล (เลิศ) วัดราชสิทธาราม

พระโสภณวราภรณ์ (เฉลียว) วัดอรุณราชวราราม

พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม

พระศรีสัจจาญาณมุนี (ประหยัด) วัดสุทัศนเทพวราราม

พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ

พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะอง

พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร

พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

พระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จ

พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร

พระครูรัตนสราธิคุณ ผทอง) วัดสระแก้ว

พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ

พระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสระแก

พระครูพิพิธวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช

พระครูวิมลนวการ (เผ้ง) วัดหน้าพระบรมธาตุ

พระครูไพศาลวิสุทธิคุณ (สำลี) วัดห้วยยาง

พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง) วัดบ้านสวน

พระครูวชิรรังษี (จันทร์) วัดมฤคทายวัน

พระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุม

พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม

พระครูประดิษฐ์นวการ (บุณ) วัดวังมะนาว

พระครูปิยธรรมภูษิต (คำ) วัดบำรุงธรรม

พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ) วัดพันอ้น

พระครูธรรมสาคร (กลับ) วัดโกรกกราก

พระครูวิจิตรชัยการ (สด) วัดหางน้ำสาคร

พระครูประสาธนุ์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์เหนือ

พระครุอาภัสสรคุณ (อารีย์) วัดท้ายชิด

พระครุสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง

พระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอย

พระครูศิลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทอง

พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง

พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่าม

พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู

พระคครูสมบูรณ์ศีลวัตร (สมบูรณ์) วัดแก่งคอย

พระครูพุทธิสังวรกิจ (ทอง) วัดเนรัญชรา

พระครูวิวัฒน์นครธรรม (ชาย) วัดนครธรรม

พระครูศีลคุณวัฒนาทร (โห) วัดพุทธิสาร

พระครูถาวรธรรมรัตน์ (เที่ยง) วัดเลียบ

พระครูอุดมเวทวรคุณ (เมือง) วัดท่าแหน

พระครูนันทิยคุณ (บุญตัน) วัดเชียงทอง

พระครูวิรุฬธรรมโกวิท (สิงห์คำ) วัดเจดียสถาน

พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง

พระครูภาวนาภิรัต (อินท์จักร์) วัดวนรามน้ำบ่อหลวง

พระครูวิริยะโสภิต (ทอง) วัดพระปรางค์

พระครูประกาสสมาธิคุณ (สังเวียน) วัดมหาธาตุ

พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ

พระครุศีลโสภิต (แถม) วัดทองพุ่มพวง

พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุม) วัดดอนไร่

พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์

พระครูนิสัยจริยคุณ (วิสุทธิ์) วัดจันเสน

พระครูสมุทรวิจารย์ (จารย์) วัดประชาโฆสิตาราม

พระครูศีลวิมล (ท้วม) วัดเขาดบสถ์

พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี

พระครูสุวรรณสุนทร (ทอง) วัดดอกไม้ (ตะกล่ำ)

พระครูอินทศิริชัย (ม้วน) วัดไทร

พระครูพุทธมัญจาภิบาล (ทองหล่อ) วัดพระแท่นดงรัง

พระครูอาจารโสภณ (เริ่ม) วัดกลางวังเย็น

พระครูโสภณรัตนากร (เพิ่ม) วัดดอนตูม

พระครูวิจิตรธรรมรส (สุดใจ) วัดบ้านโป่ง

พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม

พระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร

พระครูสุวรรณประภาส (ทอง) วัดธาตุสว่าง

พระครูวิจิตรพัฒนาภรณ์ (เจริญ) วัดดอกไม้

พระครูอภัยภาดาทร (ขอม) วัดโพธาราม

พระครูสถิตวุมิคุณ (ปลั่ง) วัดหนองกระทุ่ม

พระครุสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนาราม

พระครูวิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญาราม

พระครูพิพัฒน์วรคุณ (ชู) วัดลุ่มเจริญศรัทธา

พระครูปลัดสงัด (สงัด) วัดพระเชตุพน

พระครูรัตนานุรักษ์ (อาจารย์แก้ว) วัดปงสนุกใต้

พระครูสุกิจวิริยากร (หมั่น) วัดดงสัก

พระครูธรรมธรบุญมี วัดท่าสะต๋อย

พระปลัดบุญเชิด วัดชมนิมิต

พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส

พระครูวิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม

พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ

พระอาจารย์แดง วัดเขาหลัก

พระอาจารย์รักษ์ วัดศรีรัตนคีรีวงศ์

พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา

พระอาจารย์บุรัชย์ วัดนายพญา

พระอาจารย์กี๋ วัดหูช้าง

พระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูม

พระอาจารย์ครูบาวัง วัดบ้านเด่น

พระอาจารย์แสน วัดท่าแทน

พระอาจารย์คง วัดสันพระรส

พระอาจารย์สวน วัดบางกระดาน

พระอาจารย์ใหญ่ วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์

พระอาจารย์จำรัส วัดเมืองกาย

พระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่

พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์

พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศา

พระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทอง

พระอาจารย์ดี วัดศรีสำราญ

พระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคยา

พระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านนอก

พระอาจารย์คูณ วัดหนองแวง

พระอาจารย์สุวรรณ วัดพรหม

พระอาจารย์เพ็ชร์ นนฺทเสโน วัดบ้านเด่น

พระอาจารย์อุ้ย วัดสังฆราชา

พระสุนทรธรรมภาณ (เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม


วัตถุมงคลรุ่น ครบ 100 ปี มตกาล สมเด็จโต วัดระฆัง มีพุทธคุณไม่น่ายิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังยุคแรก ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจ อันได้แก่

1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ เสด็จฯ มาประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2515

2.มีมวลสารผงเก่าของพระสมเด็จวัดระฆังยุคแรก ที่สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ปลุกเสก

3.เจตนา และวัตถุประสงค์ในการสร้างดีมาก และเป็นพระสมเด็จวัดระฆังเพียงรุ่นเดียวที่สร้างด้วยการกดมือทุกองค์ ตามโบราณ(ไม่ใช่ปั๊มจากโรงงาน)

4.หลวง ปู่โต๊ะ ได้มาร่วมพิธีปลุกเสก และได้นิมิตเห็น สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี มาเวียนประทักษิณา ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่ซุ้มตั้งวัตถุมงคลจนครบ 3 รอบ จนเป็นที่ฮือฮาในสมัยนั้น

5.มีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตา ค้าขาย และแคล้วคลาดปลอดภัย จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นมากมาย


เครดิตจากเวบ   http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0070

เครดิตจากเวบ   http://bangkoknoi25.blogspot.com/2011/09/100.html


ขอขอบคุณรูปภาพจากหนังสือ มหามงคลแห่งแผ่นดิน หนังสือดีที่น่ามีอ่านครับ

 

ราคา : .00 บาท
จำนวน : Pcs.