Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


กริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สร้าง1,250องค์(ในหลวงเททอง) ปี2510

กริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สร้าง1,250องค์(ในหลวงเททอง) ปี2510
รหัสสินค้า : s6-0697
ชื่อสินค้า : กริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สร้าง1,250องค์(ในหลวงเททอง) ปี2510
รายละเอียด

ปี2510 กริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สร้าง1,250องค์ (ในหลวงเททอง)

รุ่นนี้มีแค่พระกริ่ง พิมพ์เดียว,เนื้อทองคำชนิดเดียว สร้าง 1,250 องค์

 

ในหลวงเททอง,มีพิมพ์เดียวและมีแค่เนื้อทองคำ 1,250 องค์

....ในหลวงเสด็จเททอง และ พุทธาภิเษก....

พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วัดเชตุพน ปี 2510 ทองคำหนัก 2 บาทกว่า สร้าง 1,250 องค์  หนัก 36.62 กรัม

“พระพุทธคุณ” ยอดเยี่ยมด้าน “คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ มหาอำนาจก็เป็นเอก” 

ที่สำคัญ “มีความมั่นคงก้าวหน้าในชีวิต มีความมั่นคงก้าวหน้าในฐานะ มีความมั่นคงก้าวหน้าในกิจการ”

 

   

                ในปี พ.ศ.2508-2509 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน ในขณะนั้น คือ “สมเด็จพระวันรัต” ซึ่งต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ” (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) ก็ทรงรับรู้ปัญหาและความจำเป็นในการหาทุนมาสนับสนุนการบูรณะพระอารามอันดับ หนึ่งของประเทศ จึงทรงมีพระดำริจัดตั้ง “มูลนิธิ” ขึ้นเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะพระอารามต่อไป จึงดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต โดยความช่วยเหลือของ “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร” ประธานองคมนตรีในขณะนั้น นำความขึ้นบังคมกราบทูลเกล้าถึงความจำเป็นซึ่ง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพราชทานนามมูลนิธิว่า “มูลนิธิพระพุทธยอดฟ้า” พร้อมทั้งรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์อีกด้วย

                “สมเด็จพระวันรัต” จึงจัดประชุมกรรมการหลายฝ่ายถึงเรื่องระดมทุนมาจัดตั้งเป็น “กองทุนมูลนิธิ” ผลการประชุมมีมติให้จัดงาน “ทอดผ้าป่ามหากุศล 84,000 องค์” พร้อมทั้งมีการจัดทำ “ของที่ระลึก” สมนาคุณแก่ผู้บริจาคเพราะจะทำให้ให้มีรายได้เข้ากองทุนมากขึ้น โดยสร้างเป็นวัตถุมงคลคือ “พระกริ่ง” และ “เหรียญ”

                สำหรับ “พระกริ่ง” ที่ประชุมยังมีมติอีกว่า ควรจัดสร้างด้วย “เนื้อทองคำ” น้ำหนักไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับสมนาคุณผู้บริจาคตั้งแต่ “5,000 บาท (ห้าพันบาท)” ขึ้นไป และควรสร้างจำนวนจำกัดคือ “1,250 องค์”  อันเป็นจำนวนเท่ากับ “พระวิสุทธิสงฆ์” องค์อรหันต์ที่มาประชุมพร้อมกันเป็นมหาสันนิบาตในวันมาฆปุรณมีเพ็ญเดือนสาม ซึ่งเรียกว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” โดยขอบารมีธรรม ของพระอรหันต์เหล่านั้นมารวมไว้ที่ “พระกริ่ง” อันเป็น ปฏิมาของ “พระพุทธเจ้า”  โดยตกลงกันว่าควรถวายพระนามว่า “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ด้วยมูลเหตุที่มูลนิธินี้ได้รับพระราชทานนามว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า”  ดังนั้นเพื่อให้สมกับพระนามจึงสร้างด้วย “เนื้อทองคำ” เพียงเนื้อเดียว

                ครั้นตกลงกันเป็นมติเอกฉันท์จึงจัดหาทองคำนำมารีดเป็นแผ่นบาง  “108 แผ่น” สำหรับลงอักขระ “ยันต์ 108” และอีก “14 แผ่น” สำหรับลงอักขระ “นะปถมัง 14 นะ” ตามตำราของ “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วกรุงเก่า” ที่ตกทอดมายัง “สมเด็จพระพนรัตน์” ปฐมอธิบดีสงฆ์องค์แรกของ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ผู้เป็นพระอาจารย์เจ้าใน “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตโนรส” และมีการคัดลอกลงในสมุดไทยดำแล้วตกทอดไปยัง “วัดบวรนิเวศวิหาร วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดเทพธิดาราม” เป็นต้น และหลังจาก “แผ่นทองคำ” ทั้งหมดทำการลงอักขระยันต์แล้วจึงนำมารวมกับทองคำอื่น ๆ ที่มีประชาชนร่วมบริจาคเพื่อหล่อพระไว้ในพระอุโบสถที่มีการจุดตั้ง “พระวัตรฉัตรธง” โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตลอดเวลา 3 เดือน แห่ง “ปุริมเข้าพรรษา” ซึ่งท่านเจ้าคุณ “พระเทพวรมุนี” (ฟุ้ง ปุณณโก) เป็นหัวหน้าในการนำสวดพระพุทธมนต์บทต่าง ๆ อาทิ “ชินบัญชรคาถา  ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โพชฌงค์ปริตร เจ็ดตำนาน มงคลจักรวาล ฯลฯ” จนกระทั้งถึงวันอาทิตย์ แรม 8 คำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับ วันอาทิตย์ที่  6 ตุลาคม พ.ศ.2509 อันเป็นวันที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นโบราณราชประเพณีทุกปี ซึ่งวันนั้นได้เสด็จฯเป็น “วัดที่ 3” (วัดแรกคือวัดมกุฎฯ)  ซึ่งในบันทึกพระนิพนธ์เรื่อง “มูลนิธิทุนพระทุทธยอดฟ้าในพระบรมราชูปถัมถ์”  ของ “สมเด็จพระสังฆราช”  (ปุ่น  ปุณฺณสิริมหาเถร) ได้บันทึกความสำคัญในวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จฯทรงประกบพิธีเททองหล่อพระกริ่งพระพุทธยอด ฟ้าไว้ดังนี้

        วันนี้เป็นวันที่ทรงเครื่องยศใหญ่ เสนามาตย์ราชบริพารแต่งตัวเต็มยกทุกคนที่มารับเสด็จฯ และจะหาวันไหนเป็นโอกาสสอนเป็นมงคลยิ่งเสมอวันนี้ยากนัก เพราะวันแรม 8 ค่ำเป็นวันอาทิตย์นั้น      ได้รับความนิยมว่าเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ จะหาวันที่เป็นมิ่งมงคลเช่นนี้ไม่ง่ายนักในขวบปีหนึ่ง โบราณ จึงเขียนไว้เป็นแบบว่า

        “จันทร์ตรีศรีสิทธิเก้า        ภุมเมทร์

         พุธทวัชอัฏฐสุรเยนทร์     เลศลัน

                 พฤหัสบดิ์จตุรเกณท์         ศุกร์ค่ำ  หนึ่งนา

                 เสาร์ห้าสถาพรพัน             โชคใช้ได้เสมอ”

(งานนักขัตฤกษ์นมัสการพระทุทธไสยาส วันพระเชตุพน 2510 หน้า 25)


                ดังนั้นวันเททองหล่อ “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ซึ่งเป็น “วันอาทิตย์แรม 8 ค่ำ” จึงเข้าโฉลกอันงดงามคือ งามด้วยฤกษ์ งามด้วยเกียรติยศ ที่ขวบหนึ่งปีจะหาฤกษ์เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศเช่นนี้ยากมากแต่ก็มีแล้วที่ วัดพระเชตพนฯ และการเสด็จฯทรงประกอบพิธเททองหล่อพระกริ่งวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็มีพระมาหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯทรงประกอบพิธีเททองครบทุกช่อและได้ “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ครบตามจำนวน “1,250 องค์” จึงเสด็จฯกลับ 



โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกปลุกเสกประกอบด้วย

1.หลวงพ่อเงินวันดอนยายหอม  

2.หลวงปู่โต๊ะ  วัดประดู่ฉิมพลี

3.หลวงพ่อมุ่ย วัดอนไร่

4.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม

5.หลวงพ่อถิร  วัดป่าเลไลย์ 

6.หลวงปู่ธูป วันแคนางเลิ้ง”  ฯลฯ     เป็นต้น

 

                พระพุทธลักษณะ “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” จากบันทึกของวัดพระเชตุพนฯ ระบุว่าถอดแบบมาจากพระกริ่งของ “พลเอกประภาส  จารุเสถียร” ที่แจ้งกับทางวัดว่ามีผู้นำมาให้โดยไม่คาดฝันมาก่อนพร้อมระบุว่าเป็น “พระกริ่งหลวง” ซึ่งต่อมาก็มีการยอมรับว่าพระกริ่งที่เป็นต้นแบบนี้คือ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” เพราะสร้างขึ้นในสมัยที่พระองค์ทรงครองราชย์ส่วนพระนิพนธ์ของ “สมเด็จพระสังฆราช” (ปุ่น  ปุณฺณสิริมหาเถระ) ก็ได้บันทึกความเป็นสิริมงคลของ “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ไว้หลายประการที่จะนำมาสรุปเป็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ทรงกอบกู้ชาติและสร้างชาติพร้อมทรงรักษาชาติไว้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องเสด็จฯสู่สมรภูมิรบมากกว่า 10 ครั้ง การอัญเชิญพระปรมาภิไธยของพระองค์มาเป็นพระนามของพระกริ่ง อุดมด้วยสรรพสิริมงคลอย่างสูง

2.“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ทรงเป็น “ปฐมกษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่แก่ชาติไทย

3.“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ทรงเป็นยอดนักรบผู้เกรียงไรหากเสด็จฯ สู่สมรภูมิครั้งใดทรงนำแต่ชัยชนะกลับมาทุกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “สงครามเก้าทัพ” ซึ่งเป็นสงครามคราวนั้น “กษัตริย์พม่า” หวังเผด็จศึกให้แผ่นดินสยามราบคาบเฉกเช่นที่เคยกระทำให้กรุงศรีอยุธยาแตกมา แล้วถึง 2 ครั้ง จึงยกไพรพลจำนวนมาก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของ     “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ” และสมเด็จพระอนุชาธิราชฯ”หลังจากทรงสู้รบอยู่ระยะหนึ่ง “พระองค์” ก็ทรงสามารถตีทัพพม่าทั้งบ่าวไพร่และเจ้านายแตกพ่ายยับเยินหนีกลับไป ยังผลให้ตั้งแต่นั้นมาพม่าก็ไม่กล้ามา “รุกรานแผ่นดินไทย” นั้นคือพระปรีชาสามารถของพระองค์สมดังพระบรมราชสมัญญานาม “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” โดยแท้จริง

4. “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” จัดสร้างด้วยพิธีกรรมอันเข้มขลังดีทั้งนอกและดีทั้งในพร้อมสูงค่าที่สุดของโลกและมีการลง “อักขระเลขยันต์มงคล” พร้อมบรรจุพระพุทธคุณโดยพุทธาภิเษก ตลอด 3 เดือน แห่งการเข้าพรรษาตามตำราโบราณของ “สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว” ทุกประการและหลังจาก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและทำการตกแต่งพร้อมบรรจุเม็ดกริ่งแล้ว ก็ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง พร้อมกับ “ทองคำชนวน” ที่เหลือมารวมกับทองคำอีกจำนวนหนึ่งที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกตลอดพรรษากาลเช่นกัน เพื่อนำไปจัดสร้าง ”เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” โดยมอบหมายให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ รับไปดำเนการ

5.วันที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองเป็น วันอาทิตย์ แนม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันที่โบราณกาลนิยมกันว่าเป็น “วันอุดมมงคล” ที่เหมาะกับการประกอบพิธีต่างๆ ให้กิจการเจริญก้าวหน้า

6.และในวันที่เสด็จฯ ประกอบพิธีเททอง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงเครื่อง “ยศใหญ่” ทรงเครื่อง “ราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี” และบรมวงศานุวงศ์ตลอดทั้งข้าราชบริพารต่างก็แต่งเต็มยศ การที่“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” จะทรงเครื่องยศใหญ่หาได้น้อยมาก

7. “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” สร้าง ด้วยทองคำแท้ธรรมชาติ น้ำหนักองค์ละไม่ต่ำกว่า 2 บาท โดยมีการเจือโลหะธาตุที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้วเพื่อให้เนื้อทองคำแข็งตัว ที่เมื่อหล่อพระกริ่งแล้วจะมีความคมชัดสวยงาม


            ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ทราบถึง “ความสำคัญ” โดยเฉพาะบรรดา “ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คหบดี เศรษฐี” และ “ผู้มีอันจะกิน” ในสมัยนั้น จึงร่วมกันบริจาคเพื่อเข้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” อีกด้วย ดังนั้น “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ที่สร้างด้วย “ทองคำ” เมื่อปี 2510 จึงไม่มีหมุนเวียนออกมาเป็น “สมบัติผลัดกันชม”  เฉกเช่นวัตถุมงคลอื่นๆ เนื่องจาก “ใครมีก็หวง” อีกทั้งแต่ละบุคคลที่ได้รับพระราชทานครั้งนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ไม่เดือดร้อนทางด้านการเงิน จึงปัจจุบันจึงพบเห็นได้ยาก เพราะผู้ที่ดีรับพระราชทานต่างอาราธนาบูชาเป็น “สมบัติประจำตระกูล” ที่บรรดาลูกหลาน ต่างก็ยึดถือเฉกเช่นบุพการี เพราะทราบดี 

“พระพุทธคุณ” ยอดเยี่ยมด้าน “คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ มหาอำนาจก็เป็นเอก” ที่สำคัญ “มีความมั่นคงก้าวหน้าในชีวิต มีความมั่นคงก้าวหน้าในฐานะ มีความมั่นคงก้าวหน้าในกิจการ” 

ซึ่งเท่าที่ทางวัดเชตุพนฯ ได้บันทึกไว้ บุคคลที่ได้รับพระราชทานครั้งนั้น ปัจจุบันล้วนกลายเป็น “ตระกูลดัง” มีชื่อเสียงขจรขจายในสังคม ที่ไม่อาจนำรายชื่อมาเสนอได้ทั้งหมด จึงขอกล่าวถึงเพียง “พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้” ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ที่ร่วมบริจาคและได้รับพระราชทาน “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ซึ่งหากท่านผู้ใดเป็นศิษย์ใกล้ชิดสมัยท่านยังมีชีวิตคงทราบดี

 

                ท้ายสุดของเรื่องราว “พระกริงพระพุทธยอดฟ้า” และ “เหรียญพระพุทธรูปพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” พร้อม “เหรียญพระบรมรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช”  ขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าคุณ “พระราชเวที” (สุรพล ชิตญาโณ ป.ธ.9 , ศษ.บ., พธ.บ., อ.ม.) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่เมตตาให้ข้อมูลเพื่อการเผยแพร่อันถูกต้องทุกประการ (เรื่องราวของพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า สรุปรวบรวมและเรียบเรียง จากหนังสือ งานนักขัตฤกษ์นมัสการพระพุทธไสยาส วัดเชตุพน พ.ศ.2510 – พ.ศ.2511)


ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือ "มหามงคลแห่งแผ่นดิน" เรียบเรียงโดย "คุณอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร"   หนังสือดีที่น่าอ่านครับ


 

ราคา : .00 บาท
จำนวน : Pcs.