|
| |
รหัสสินค้า | : s6-0699 |
ชื่อสินค้า | : พระแก้วหยกเชียงราย 5นิ้ว เครื่องทรงทองคำ99.9% ฤดูหนาว ปี2534 |
รายละเอียด | พระแก้วมรกตสมเด็จย่า(พระแก้วหยกเชียงราย) 5 นิ้ว ปี 2534 (ในหลวงเสด็จในพิธี) สร้าง 2,534 องค์ เครื่องทรงทองคำ 99.99% ลงยา ยอดพระเกตุประดับเพชร ทรงเครื่องฤดูหนาว ทองคำหนัก 33 บาท
พระแก้วมรกตสมเด็จย่า(พระแก้วหยกเชียงราย) 5 นิ้ว ปี 2534 (ในหลวงเสด็จในพิธี) สร้าง 2,534 องค์ สร้างจากหินหยกก้อนใหญ่เนื้อดีจากประเทศแคนาดา นำเข้ามายังไทยโดยพระราชดำริขององค์สมเด็จย่า
ประวัติการสร้าง พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล "พระหยกเชียงราย" วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้วแห่งนี้ เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน จึงได้สร้าง "พระแก้วหยกเชียงราย" ขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการะบูชาและน้อมจิตรำลึกถึงว่า วัด(พระแก้ว) นี้ ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีของพระองค์(พระแก้วมรกต) 2.เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระ ราชกุศลแด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหาสมัยมงคลที่ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พระชันษา พระองค์ทรงเปรียบประดุจประทีปนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่เชียงราย ขนาด วัสดุ หุ่นต้นแบบ และผู้แกะสลัก คณะสงฆ์ จังหวัดเชียงราย ได้จัดสร้างพระพุทธรูป "พระแก้วหยกเชียงราย" ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 เซนติเมตร สูง 65.9 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้พระแก้วมรกต (กว้าง 48.3 ซม. สูง 66 ซม.) สร้างด้วยหยกชนิดดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ฮูเวิร์ด โล เป็นผู้นำมาถวายเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย โดยให้อาจารย์ กนก วิศวะกุล แห่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งให้มิสเตอร์ หยวน หวุน หุ้ย นายช่างแกะสลักหยกของโรงงายวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้แกะสลัก ผู้อุปถัมภ์การสร้าง คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้รับการอุปถัมภ์จาก พณฯ พลเอก ชาติชาย ท่านผู้หญิง บุณเรือน ชุณหะวัน เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้าง "พระแก้วหยกเชียงราย" สมเด็จย่าพระราชทานพระนาม เมื่อวันที่ 8 กันายน 2534 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานพระนามพระพุทธรูปหยกว่า "พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล" แปลว่า พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ 90 พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสามัญนามว่า "พระหยกเชียงราย" พิธีมหาพุทธาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมพุทธานุญาติ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2534 และได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีตั้งแต่ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงจุดเทียนชัย
1.พระพุทธรูปหยก ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว จำนวน 2,534 องค์ 2.พระพุทธรูปแบบเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 999 องค์ 3.พระพุทธรูปแบบเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว จำนวน 2,534 องค์ 4.พระพุทธรูปแบบเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว จำนวน 2,534 องค์ 5.เหรียญผงหยก จำนวน 2,534 องค์ 6.พระกริ่ง จำนวน 9,999 องค์ พระพุทธรูปและวัตถุมงคลตามรายการข้างต้น นี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานพระราชานุญาตพระนามาภิไธยย่อ "สว" ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นสิริมงคล จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุภาพ นำพระพุทธรูปและวัตุมงคลเหล่านี้ เข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกันครั่งนี้ด้วย ครั้งที่ 1 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2534 ครั้งที่ 2 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2534 (ขอพร้อมที่พระอุโบสถ เวล 15.30 น. เพื่อรอรับพระราชทานผ้าไตร และเครื่องไทยทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
ข้อมูลจากหนังสือ วัดพระแก้ว เชียงราย (หนังสือแจก สำหรับผู้บูชาพระหยกเชียงราย)
แต่เนื้อหยกแท้ ขนาดใหญ่ ที่มีพิธีดี พิธีใหญ่ (ในหลวงสด็จฯ , สมเด็จสังฆราชเสด็จฯ ) พึ่งเคยเห็นเป็นรุ่นแรก และรุ่นเดียว ครับ พระแก้วมรกต กับ พระหยกวัดพระแก้ว เชียงราย วัดพระแก้วเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 31พฤษภาคม 2521
เดิมเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ ปรากฏหลักฐาน แต่บริเวณนี้มีไม้ไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก แต่ไม่มีหนาม ชาวบ้านนิยมนำคันธนูและหน้าไม้ คงจะมีมากในบริเวณนี้ชาวเชียงรายจึงเรียกว่า วัดป่าเยี๊ยะ หรือวัดป่าญะ ต่อมาในปี พ.ศ. 1977 ฟ้าผ่าเจดีย์วัดนี้จึงได้พบพระแก้วมรกต ชาวบ้านจึงเรียกเสียใหม่ว่า วัดพระแก้ว ตามตำนานโบราณ(พระภิกษุพรหมราชปัญญา แต่งเป็นภาษาบาลีไว้ เมื่อ พ.ศ. 2272) ชื่อหนังสือรัตนพิมพ์วงศ์ พระนาคเสนเถระเป็นผู้สร้างด้วยแก้วอมรโกฏิ ที่เทวดานำมาจากพระอินทร์มาถวายที่เมืองปาฏลีบุตร(ปัจจุบัน เมืองปัตนธ รัฐพิหาร อินเดีย) ต่อมาได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐาน ยังที่ต่าง ๆ ดังนี้ 1. เกาะลังกา 2.กัมพูชา 3.อินทาปัฐ (นครวัด) 4.กรุงศรีอยุธยา 5.ละโว้(ลพบุรี) 6.วชิรปราการ(กำแพงเพชร) 7.เชียงราย (พ.ศ.1934 1979 ประดิษฐาน 45 ปี) 8.ลำปาง (พ.ศ.1979 2011 ประดิษฐาน 32 ปี) 9.เชียงใหม่ (พ.ศ.2011 2096 ประดิษฐาน 85 ปี) 10.เวียงจันทร์ (พ.ศ.2096 2321 ประดิษฐาน 225 ปี) 11.กรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2321 ปัจจุบัน)
พระประธานที่ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระแก้วเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงจากเกตุถึงยอดพระรัศมี 2.8 เมตร รอบพระเศียร 1.6 เมตร นั่งขัดสมาธิราบ พระรัศมีเป็นลักษณะมีดอกบัวตูมอยู่ในเปลวเพลิง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือรายพระถัน เม็ดพระศกใหญ่พระหนุเป็นปมใหญ่และชัดมาก พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมเป็นของวัดล้าน ทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงถูกรื้อไป ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง หรือดอยงามเมือง ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 พฤศจิกายน 2504 ซึ่งคนเชียงรายนิยมเรียกกันว่า พระเจ้าล้านทอง พระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2433 มีขนาดกว้าง 9.8 เมตร ยาว 21.85 เมตร เดิมเป็นพระวิหาร ต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2495 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.2503 ได้ บูรณะใหญ่ครั้งที่2 พ.ศ.2543-2545 โดยเปลี่ยนกระเบื้อง กะเทาะปูนเก่าออกฉาบปูนใหม่ลงรัก ปิดทอง เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา บานประตู หน้าต่างลวดลายภายในเป็นไม่สักทั้งหมด โดยควบคุมการก่อสร้างของพระเทพรัตนมุนี เจ้าอาวาส และนายนภดล อิงควนิช พระเจดีย์ เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) เมื่อพ.ศ.1977 เป็นพระเจดีย์ฐานรูปแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้าง 5.2 เมตร วัด เส้นผ่านศูนย์กลางได้ 9.50 เมตร เมื่อครั้งท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์เป็นเจ้าอาวาสได้มีการขออนุญาตกรม ศิลปากรบูรณะและห่อหุ้มทองแผ่นทองแดง ลงรักปิดทองทั้งองค์ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นประธานพิธียกฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน2541 อาคารสมเด็พระพุทธชินวงศ์ เป็น อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์งานสมโภชน์สมณศักดิ์เจ้าประคุณสมเด็จพระ พุทธชินวงศ์(สุวรรณ สุวัณณโชตมหาเถร) ปฐมสมเด็จของล้านนาเป็นอาคารค.ส.ล.4ชั้น ขนาดกว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร วาง ศิลาโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2533 เวลา 07.09 น. เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2533 เสร็จเมื่อพ.ศ.2538 หอพิพิธภัณฑ์ อาคารแสงแก้ว เป็นอาคาร ค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ทั้งภายในภายนอก สูง 2 ชั้น ทรงล้านนา ขาดกว้าง 10 เมตร ยาว 23.25 เมตร สำหรับ เป็นหอพิพิธภัณฑ์ประจำวัดพระแก้ว เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 6พฤศจิกายน 2538 วางศิลาฤกษ์ โดยคุณแม่อมรา(แสงแก้ว) มุนิกานนท์ เมื่อวันที่27 พฤษภาคม 2541 และบำเพ็ญกุศลถวายทานเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2543 อันเป็นโอกาสมงคลอายุครบ 7 รอบ ของคุณแม่อมรา ซึ่งคุณแม่อมรา มุนิกานนท์ ได้บริจาคสร้างถวายทั้งหมด โรงเรียนพุทธวงศ์วิทยา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หลวงพ่อหระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ก่อตั้ง เมื่อปีการศึกษา 2515 ในระยะแรกเปิดในระดับ ป.5-ป.7 และม.ศ.1-3 ปัจจุบันเปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 มีนักเรียนทั้งหมด 350 รูปโดยมีอาคารเรียน 2 หลัง คือ 1. อาคารพุทธิวงศ์ 15 เป็นอาคารขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 25 เมตร สูง 2 ชั้น วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2515 สร้างเสร็จทำบุญฉลองเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 2. อาคารเทพรัตน์ 44 เป็นอาคารขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 47 เมตร สูง 3 ชั้น 16 ห้องเรียน พระเทพรัตนมุนี ดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนพฤกษภาคม 2544 เสร็จเดือนพฤศจิกายน 2546 เนื่องในมหามงคลสมัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา จังหวัดเชียงรายได้จัดสร้างพระพุทธรูปหยก ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 เซน. สูง 65.9 เซน สร้างด้วยหยกจากประเทศแคนนาดา(มร.ฮูเวิร์ด โล ผู้บริจาค) แกะสลักโดยโรงงานหยกวาลินนาน มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พระพุทธรูปหยกองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็น องค์แทนพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกตได้ถูกค้นพบ ณ พระเจดีย์วัดพระแก้วเป็นแห่งแรก(พ.ศ.1977) และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานนามถวายว่า พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล แปลว่าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ 90 พรรษาและโปรดเกล้าให้เรียกนามสามัญว่า พระหยกเชียงราย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชานุญาตให้ประกอบพิธีพุทธ่ภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2534 และจังหวัดเชียงราย ได้ประกอบพิธีแห่เข้าเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534 หอพระหยกเชียงราย
วัดในภาคเหนือสมัยโบราณ นอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ หอพระธรรม ฯลฯ แล้วยังมี หอพระสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป วัดพระแก้วจึงจัดสร้าง หอพระหยกเชียงราย เป็นอาคารทรงแบบล้านนาโบราณเป็นอาคารค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร วางศิลาฤกษ์ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534 เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานเปิดหอเปิดหอพระหยกเชียงรายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 เครดิตจากเวบ http://www.buraphakorn.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538725673&Ntype=6 |