....ในหลวงเสด็จเททอง....สังฆราช ญสส. อธิฐานจิต...
กริ่งปรมานุชิตชิโนรส วัดเชตุพน ปี 2533 (ในหลวงเสด็จเททอง)
พุทธคุณทางด้าน โชคลาภ
พระกริ่งปรมาฯ ปี 2533 คณะกรรมการจัดสร้างได้บรรยายพระพุทธลักษณะพิเศษ แห่งองค์พระกริ่งปรมาฯ นี้ไว้ว่า
1.แสดงถึงพระปัญญาธิคุณ คือพระเศียรเป็นทรงบัวตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ถัดขึ้นไปเป็นเปลวรัศมีทรงดอกบัวตูม พระพักตร์เป็นแบบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ไรพระศกเป็นก้นหอย ประทับนั่งขัดสามธิเพชร ห่มจีวรเฉวียงบ่าพาดผ้าสังฆาฏิ
2.พระหัตถ์ทั้งสองข้างทรงถือสมุดข่อย อันเป็นพระคัมภีร์จารึกพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาการของปางพระพุทธรูป ด้วยเหตุที่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระปรามานุชิตชิโนรส ทรงค้นคว้าแบบของปางพระพุทธรูป จำนวน 37 ปาง เพื่อสร้างเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายอดีตบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งกรุงเก่า 33 พระองค์ กรุงธนบุรี 1 พระองค์ และกรุงรัตนโกสินทร์ 3 พระองค์
3.ฐานเป็นรูปใบโพธิ์ 7 ใบ ภายในใบโพธิ์มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึง ทรงประสูติในวันเสาร์ วันที่ 7 แห่งสัปดาห์ ทรงสถิต ณ วัดโพธิ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO) ประกาศยกย่องสดุดีเป็นพระองค์ที่ 7 ของประเทศไทย
4.ที่ฐานด้านหน้า เป็นตราพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งแสดงพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อันเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพบูชาแห่งพระมหา จักรีบรมราชวงศ์
5.ที่ฐานด้านหลัง เป็นตราฉัตร 5 ชั้น ภายในใบโพธิ์หมายถึง พระฐานันดรศักดิ์และพระสมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าสถิต ณ วัดโพธิ์
6.ใต้ฐาน จารึก 11 ธันวาคม 2533 อันเป็นครบรอบ 200 ปี นับแต่วันประสูติ และจารึกอักขระภาษาบาลีตัวขอมว่า สุ จิ ปุ ลิ อันเป็นหัวใจนักปราชญ์นั่นเอง
7.แผ่นปิดฝาเม็ดกริ่ง ทำเป็นรูปพญานาควาสุกรี อันเป็นสัญลักษณ์พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี
8.ขนาดความสูง รวมฐาน 25 เซนติเมตร ขนาดหน้าตักกว้าง 1.5 เซนติเมตร
สำหรับ พระกริ่งเนื้อทองคำ และ พระกริ่งเนื้อเงิน ได้นำทองคำและเงินบริสุทธิ์ไปรีดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วมอบให้พระเกจิที่เชี่ยวชาญลงอักขระ พระยันต์ 108 ดวง และ นะปถมัง 14 นะ จึงนับว่าพระกริ่งปรมาฯ เนื้อทองคำและเนื้อเงิน เป็นพระกริ่งที่ดีทั้งในและดีทั้งนอก พิธีกรรมกระทำภายในพระอุโบสถวัดเชตุพนฯ โดยนำโลหะชนวนที่เหลือ ไปผสมกับโลหะชนิดอื่นๆ และแผ่นทองแดง ที่ลงอักขระเลขยันต์ 108 ดวง และ นะปถมัง 14 นะ เช่นกัน จึงเป็นเนื้อนวะโลหะ ที่สมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ พระกริ่งปรมาฯ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และ เนื้อนวะโลหะ อย่างละ 1 กระบอก ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2533 วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 จากนั้นช่างนำไปผสมเจือในแต่ละเนื้อ ที่จะทำการหล่อพระกริ่งทั้งสามเนื้อดังกล่าวสืบไป ต่อมาวัดเชตุพนฯ ได้ประกอบพิธีกดพิมพ์พระผงวาสุกรี เป็นปฐมฤกษ์ในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2533 เวลา 21.29 น. ณ ตำหนักวาสุกรี และประกอบพิธีพุทธาภิเษกและชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดเชตุพนฯ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2533 โดยท่านสมเด็จญาณสังวรพระสังฆราช ทรงเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณอีก64รูป เช่น
หลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง
หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ
หลวงปู่คำพัน วัดธาตุมหาชัย
หลวงพ่อยิค วัดหนองจอก
หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า เป็นต้น
พระกริ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ
สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสUNESCOได้ประกาศสดุดี ยกย่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก และฉลองพระประสูติกาลครบ ๒๐๐ ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จฯทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก
พร้อมด้วยพระคณาจารย์ผูทรงวิทยาคุณ ๖๕ รูป
พระกริ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสนี้ สร้างตามตำราการหล่อพระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วที่ตกทอดมายังสมเด็จพระวันรัตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระเชตุพนฯ ก่อนจะแพร่หลายไปยังวัดบวรฯ(พระกริ่งปวเรศ) , วัดสามปลื้ม(ท่านเจ้ามา) , และวัดสุทัศน์ฯ(สมเด็จพระสังฆราชแพ)
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือ "มหามงคลแห่งแผ่นดิน" เรียบเรียงโดย "คุณอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร" หนังสือดี น่าอ่านครับ
ประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สังฆราชองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย ณ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขั้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๓๓ มีพระนามเดิมว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี" เมื่อประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระชนมายุ ๕๓ พรรษา ครองราชสมบัติมาแล้ว ๘ ปี
ครั้นพระองค์ เจ้าวาสุกรีทรงเจริญพระชันษาได้ ๑๒ ก็ทรงละฆราวาสวิสัยออกผนวชเป็นสามเณรเมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๔๕ โดยผนวชเป็นหางนาค ณ วัดพระศรีสรเพ็ชญ์ (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ครั้นผนวชแล้วจึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในระหว่างที่ผนวชเป็นสามเณรอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาในสำนักสมเด็จพระพนรัตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาอักษรทั้งไทย ขอม ภาษามคธ (บาลี) โบราณคดี ตลอดจนวิธีทำเลขยันต์ต่างๆ ตามคตินิยมในสมัยนั้น ครั้นทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ ๓ พรรษา ลุปีพุทธศักราช ๒๓๕๗ สมเด็จพระพนรัตนถึงแก่มรณภาพในระหว่างพรรษา ยังไม่ทันจะได้โปรดให้พระเถระรูปใดเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯครั้นออก พรรษาแล้ว ในช่วงเวลาพระกฐิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จไปพระราชทานพระกฐินถึงวัดพระเชตุพนฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นพระราชาคณะด้วย
สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรับกรมครั้งแรกในรัชกาลที่ ๒ เป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ เมื่อราวปีชวด พุทธศักราช ๒๓๕๙ และในขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นอยู่นี้ ได้ทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ของเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระกรมหมื่นอยู่นี้ ได้ทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ของเจ้านายหลายพระองค์ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่นั้น ทรงเคารพเลื่อมใสในสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าจะมีพระชนมายุแก่กว่าพระองคเพียง ๑๔ พรรษาก็ตาม แต่ก็ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระปิตุลา สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงตั้งพระองค์อยู่ในฐานะเป็นครุฐานียบุคคลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลาสิกขา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ แล้ว ก็ได้ทรงสถาปนา สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส"
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีพุทธศักราช ๒๒๓๙๔ นั้น สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตโนรสมีพระชนมายุได้ ๖๑ พรรษา ทรงพระประชวรหนักครั้งหนึ่ง ครั้นต่อมาอีก ๒ ปี พระองค์ก็ได้ประชวรพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษากับ ๔ วัน และในฐานะที่ทรงเป็นประมุขที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศรัทธา มาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพจากวัดพระเชตุพนไปประดิษฐาน ณ พระเมรุที่ท้องสนามหลวง แล้วพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ พุทธศักราช ๒๓๙๗ เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว พระบาทสมเด็จพะจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ที่พระตำหนักวัดพระเชตุพน และโปรดให้มีตำแหน่งฐานานุกรมรักษาพระอัฐิต่อมา
ถึง เวลาเข้าพรรษา พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชาพระอัฐิทุกปี เมื่อถึงวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพน ก็โปรดฯ ให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานที่ในพระอุโบสถ ทรงสักการะบูชาแล้วทอดผ้าไตรปี โปรดฯ ให้พระฐานานุกรมพระอัฐิสดับปกรณ์เป็นประเพณีเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันนี้
สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงตั้งพระองค์อยู่ในฐานะเป็นครุฐานียบุคคลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลาสิกขา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ แล้ว ก็ได้ทรงสถาปนา สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส"
กรณียกิจ
ใน รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกแผ่นศิลาประดับไว้ในวัดพระเชตุพนฯ โดยจารึกตำราวิชาการต่างๆ ในการจารึกแผ่นศิลาประดิษฐานไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนฯ ครั้งนี้ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ไว้หลายเรื่อง ทั้งยังได้ทรงพระนิพนธ์โคลงดั้นบาทกุญชรและ โครงดั้นวิวิธมาลี สรรเสริญพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนฯ จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนอีกเรื่องหนึ่งด้วย
สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสนั้น ทรงได้รับคำสดุดีว่าเป็น จินตกวีไทยอย่างยอดพระองค์หนี่ง งานพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่เป็นร้อยแก้ว เช่น พระปฐมสมโพธิ พระธรรมเทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นแล้วเป็นร้อยกรองที่ทรงเชี่ยวชาญและทรงถนัดมากคือฉันท์ เช่น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างพัง โดยเฉพาะที่เป็นแม่บท ทรงแต่งตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติในจำนวนพระนิพนธ์ทั้งหมด เรื่องที่ได้รับการยกย่องทางร้อยกรองว่าดีเยี่ยมที่สุด ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ดีเลิศทางกระบวนกลอนลิลิตอีกเรื่องหนึ่งด้วย ส่วนพระนิพนธ์ร้อยแก้ว ที่ยอดเยี่ยมที่สุดน่าจะได้แก่ เรื่อง พระปฐมสมโพธิกถา ซึ่งผู้อ่านจะได้อรรถรสทั้งภาษาและวรรณคดี นอกเหนือไปจากเนื้อหาที่เป็นพระพุทธประวัติอีกด้วย
พระ ราชนิพนธ์บทหนึ่งของพระองค์ที่แสดงถึงลักษณะการประพันธ์คำประพันธ์ที่ทรงใช้ ในการนิพนธ์ เรียกว่า ลิลิต เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ โคลงที่ใช้มีทั้ง โคลง ๒ โคลง ๓ และโคลง ๔ ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิยมใช้ในการนิพนธ์ปิดท้ายวรรณคดีที่ทรงนิพนธ์ เกือบทุกเรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใน โอกาสที่ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๕ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของประชาชน โดยรวบรวมสรรพวิชาการสาขาต่างๆ จารึกบนแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพน ดังที่ทรงระบุไว้ในโคลงท้ายเรื่อง ดังนี้
บรรจงเสาวเลขแล้ว หลายคุง ขวบฤา
ปางปิ่นธเรศอำรุง โลกเลี้ยง
ทำนุกเชตุพนผดุง เผดิมตึก เต็มเอย
อาวาสอาจเพ่งเพี้ยง แผ่นฟ้ามาเสมอ
คัดลอก, อ้างอิง
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน.
๒๐๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.
กรุงเทพฯ, บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด, ๒๕๓๓
|