Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


กริ่งพุทธวิชิตมาร วัดด่านเกวียน ปี 2514

กริ่งพุทธวิชิตมาร วัดด่านเกวียน ปี 2514
รหัสสินค้า : 60-09-006
ชื่อสินค้า : กริ่งพุทธวิชิตมาร วัดด่านเกวียน ปี 2514
รายละเอียด

พระพุทธวิชิตมาร วัดท่าเกวียน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ปี2514


พุทธวิชิตมาร = *****..ชนะทุกอุปรรค....ชนะทุกหมู่มาร..*****

 

 

จัดสร้างโดยท่านเจ้าคุณอดุลสารมุนี(หลวงปู่จันทร์) วัดท่าเกวียน เจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา

วัตถุประสงค์ เพื่อหารายได้เข้าทุนมูลนิธิท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุและสามเณรที่ยากไร้

พิธีมหาพุทธาภิเษก นี้ได้ให้ฤกษ์ยามโดยท่านเจ้าคุณไสว แห่งวัดราชนัดดาราม ฯ ในวันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2514 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1332 เวลา 18.05 น.อันเป็นฤกษ์จุดเทียนชัย

โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎกษัตริยาราม  (จวน อุฏฐายี) สังฆราชองค์ที่ 16 .....ทรงจุดเทียนชัย

และ ได้มอบแผ่นชนวนจากวัดมกุฎกษัตริยาราม และวัดสุทัศน์จากสมเด็จพุฒาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ผู้มอบและได้รับแผ่นทอง เงิน นาก จากท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นผู้ลงแผ่นและอธิษฐานจิตมาด้วย

พ.ศ.2513โดยการออกแบบสร้างของนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ที่สวยงามที่สุดในประเทศ

สร้างจำนวนอย่างละ 5,000 องค์และเนื้อทองคำ ....สร้างจำนวน 29 องค์เท่านั้น

นอกนั้นเป็นเนื้อนวะทั้งหมด เนื้อเงินไม่มี

 

จัด พิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2514 โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 108 รูป เริ่มพิธีตั้งแต่ 6โมงเย็นตลอดคืนถึง 6 โมงเช้า โดยหลวงปู่นาค วัดระฆังเป็นองค์ดับเทียนชัย

คณาจารย์ ที่มาร่วมปลุกเสกพอจำได้ และที่จำไม่ได้ก็มีหลายรูป ทางผู้สร้างได้ขอพระราชทานนามจากพระอริยวงศาตตญาณ พระสังหราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดมงกุฎกษัตริยาราม ได้มีพระมหากรุณาทรงพระประทานนาม อันเป็นมหามิ่งมงคล แด่พระกริ่งนี้ว่า

“พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุข สวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิต”

ลักษณะพระกริ่ง เป็นพุทธลักษณ์ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงน้ำเต้าพระพุทธมนต์ ศิลปโบราณ อันละเอียดอ่อน ชัดเจนงดงามยิ่งนัก ฐานรองรับองค์เป็นรูปบัวตูมอันอ่อนช้อย ใต้ฐานตอกโค๊ต ดอกจันทร์ และ อุดกริ่งเป็นรูปธรรมจักร พระที่น่าศรัทธาเลื่อมใส นับเป็นการออกแบบที่ยอดเยี่ยม ...

โปรดอ่านรายชื่อพระที่ร่วมพุทธาภิเษก อย่างละเอียดครับ


รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกวัตถุมงคล 108 รูป

1.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี

2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

3.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

4.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

5.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์

6.หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา

7.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

8.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร

9.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์

10.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง

11.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง

12.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

13.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี

14.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

15.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช

16.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์

17.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

18.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีษะเกษ

19.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร

20.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

21.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร

22.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

23.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

24.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี

25.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม

26.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร

27.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี

28.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี

29.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กทม.

30.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

31.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม

32.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม

33.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

34.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร

35.หลวงปู่ธูป วัดแค กทม.

36.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี

37.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช 

38.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

39.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา

40.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช

41.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)

42.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

43.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

44.หลวงพ่อนาถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี

45.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

46.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

47.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่

48.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา

49.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

50.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่

51.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

52.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี 

53.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

54.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี

55.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี

56.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี

57.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา

58.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี

59.พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

60.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

61.พระครูกาญจโนปมคุณ(ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี

62.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี

63.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม

64.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก

65.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี

66.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี

67.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี

68.พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์

69.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา

70.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี

71.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.

72.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.

73.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.

74.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา

75.หลวงพ่อถึก วัดสนามช้าง ฉะเชิงเทรา

76.หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา

77.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา

78.หลวงพ่อสาย วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

79.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา

80.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

81.หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์

82.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี

83.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.

84.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง

85.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข

86.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี

87.หลวงพ่อแตง วัดดอนยอ นครปฐม

88.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา

จาก คำบอกกล่าวของกรรมการวัด ตอนแรกเมื่อปี 2513คณะกรรมการจัดสร้างได้ไปนิมนต์ท่านเจ้าคุณนรฯที่วัดเทพฯ(เพราะท่านได้ จารแผ่นยันต์ตามที่เขียนข้างต้น)ซึ่งท่านก็รับนิมนต์ ติดแต่ว่าท่านไม่เคยรับนิมนต์ไปนอกวัด ท่านจึงบอกว่าวันไหนที่ทำพิธีให้จัดอาสนะให้ท่านและแจ้งท่านด้วย ท่านจะไป แต่ท่านมรณะภาพก่อน ทางคณะกรรมการก็คิดว่าในเมื่อท่านรับปากท่านก็ต้องมาแม้ว่าท่านจะอยู่ที่ใด ในวันปลุกเสกก็ได้จัดอาสนะและติดป้ายชื่อท่าน แต่น่าแปลกว่า พระเกจิอาจารย์ที่มาในงานนั้นไม่มีท่านใดมานั่งที่ๆของท่านเจ้าคุณนรฯเลย ทั้งๆที่พระเกจิแต่ละท่านก็อายุมากหูตาเริ่มไม่ดีแล้ว....

น่าสะสมพระกริ่งดี****พิธีใหญ่ ****สร้างถูกต้องตามแบบฉบับโบราณ....

ส่วนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างเนื้อทองคำกับนวะโลหะคือ โค๊ตจะตอกดอกจัน 2 ดวง ชัดเจนและลึก

เครดิตจากเวบ http://www.free4u.in.th/free/wb/index.php?board=bangkoknoi25&main=view_topic&tid=826

เครดิตจากเวบ http://www.thaprachan.com/shop_detail.php?shop_id=1867&product_id=494565&c=1 

เครดิตจากเวบ http://bangkoknoi25.blogspot.com/2012/02/2514.html



เครดิตจากเวบ http://www.pra8rew.com/index.php?topic=1793.0  (มีรูปใบประกาศ ปี2514)

ประวัติการสร้างวัตถุมงคลของวัดท่าเกวียนเมื่อปี พ.ศ. 2514 คลุมเครือมาโดยตลอด อาจ ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาแล้วถึง40ปี หลักฐานต่างๆไม่มีการบันทึกไว้จึงทำให้มีข้อกังขามาตลอด ถึงที่มาที่ไปของวัตถุมงคลชุดนี้ ว่าในการจัดสร้างครั้งนั้นมีวัตถุมงคลชนิดใดบ้าง  ออกแบบโดยใครกันแน่  มีพระคณาจารย์องค์ใดบ้างมาปลุกเสกและพิธีพุทธาภิเษกที่ว่าใหญ่ ใหญ่จริงหรือเปล่า ปลุกเสกวันไหนแน่ 14 มีนาคม หรือ 18 มีนาคม 2514 กันแน่ 

วันนี้ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้และให้คำตอบได้ในบางส่วนมาฝากเพื่อนสมาชิก จะได้ใช้ศึกษาประกอบกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา แล้วลองมาเทียบเคียงดูครับว่าที่พูดๆกันมาตลอด จริงหรือไม่จริง

 

หลัก ฐานที่ว่านี้เป็นใบบอกบุญ(สมัยนี้เรียกใบโบรชัวร์)ที่ออกโดยวัดท่าเกวียน เป็นใบตัวจริง ไม่ใช่ใบถ่ายเอกสารจึงทำให้เชื่อถือได้ครับ  ผมได้แค่ขอถ่ายรูปเค้ามานะครับ ไม่กล้าขอเพราะมองดูแล้วเจ้าของคงไม่ให้แน่ๆครับ ใบโบรชัวร์ใบนี้น่าจะออกในปลายปี 2513  หลังจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระสังฆราชเจ้าแห่งวัดมกุฏกษัตริยารามได้ประทานนามพระกริ่งให้แล้วเมื่อวัน ที่ 10 กันยายน 2513 และต้องหลังจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2513 ออกมาแล้วด้วย เพราะมีรูปการประทานนามพระกิ่งของพระสังฆราชพิมพ์อยู่ในใบโบรชัวร์ ซึ่งมีหลักฐานว่าพระสังฆราชประทานนามพระกริ่งให้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2514 และมีการอ้างถึงชื่อเสียงของนายช่างเกษม  มงคลเจริญ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดังกล่าวครับ

 

ที่ มาของชื่อพระกริ่งรู้แล้ว ชื่อเต็มๆของพระกริ่งรู้แล้วคือ "พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุขสวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิตร"  ผู้ออกแบบก็คือนายช่างเกษม  มงคลเจริญ จริงๆ   ตกลงที่พูดกันว่าพระสังฆราชตั้งชื่อพระกริ่งให้ ช่างผู้ออกแบบคือนายช่างเกษม เป็นเรื่องจริงครับ  ต่อไปมาดูว่าวัตถุมงคลชุดนี้ มีอะไรบ้างนอกจาก    

1.  พระกริ่ง

2.  พระชัย  ตามที่เห็นไปแล้วจากโบรชัวร์ส่วนแรก  ส่วนต่อไปของโบชัวร์จะเป็นภาพต้นแบบของวัตถุมงคลแบบที่สามและสี่ คือ    

3. เหรียญเงินลงยารูปท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี (มีแยกย่อยออกเป็นสองแบบคือ องค์ทองคำและองค์เงิน)   

4. เหรียญรูปไข่หันข้างรูปท่านเจ้าคุณฯ (มีแยกย่อยออกเป็นสามเนื้อคือ  เงินบริสุทธิ์  นวโลหะ  ทองแดงรมดำ)   

 ใบ บอกบุญในส่วนนี้  เราจะเห็นถึงความตั้งใจในการทำพิธีพุทธาภิเษก และเจตนาของคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคล ที่ตั้งใจให้ผู้ที่บูชาวัตถุมงคลไป ได้วัตถุมงคล ที่เข้าพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วน มีพระคณาจารย์เก่งๆดังๆมาปลุกเสกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้  เพื่อให้วัตถุมงคลมีอานุภาพพุทธาคมสูง เป็นมหามงคลแก่ผู้นำไปบูชา ผิดกับ การสร้างวัตถุมงคลในยุคสมัยนี้ที่มุ่งหวังไปในทางเชิงพาณิชย์มากจนเกินไป ลงทุนให้น้อยที่สุด หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือผลตอบแทนมากที่สุด ไม่คำนึงถึงพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์สักเท่าไหร่นัก  เหลือผู้สร้างวัตถุมงคลที่ยอมลงทุนและมีเจตนาบริสุทธิ์ น้อยรายลงไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าเราจะพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนว่า คุณพระคุณเจ้ามีจริงหรือไม่ สิ่งศักดิ์ช่วยเราได้หรือเปล่า แต่อย่างน้อยๆวัตถุมงคลที่ได้รับการปลุกเสก ที่ได้เข้าพิธีอันศักดิ์สิทธิืครบถ้วน มีพระคณาจารย์มาปลุกเสกมากมาย  ผมว่าน่าจะเป็นมหามงคลแก่ผู้ที่นำไปบูชาติดตัว และอาจช่วยเราได้ จริงๆ    ผมเลยขีดเส้นใต้ไว้ให้เห็นกันชัดๆ  เพราะชอบใจในเจตนาของคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ครับ         

 

 ราย นามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่เห็นรายชื่ออยู่ในใบบอกบุญใบนี้ พึ่งจะมีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่เพียง 36 รูป  จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อที่ 37 ระบุไว้ว่า  "ยังมีพระอาจารย์ต่างๆที่ยังมิได้ลงรายชื่ิอ คณะกรรมการกำลังนิมนต์อยู่อีกมาก" นั่นเพราะว่าในใบบอกบุญใบนี้ ทางวัดได้ทำออกมาในช่วงแรกๆของการจัดสร้างวัตถุมงคล ซึ่งคงจะเป็นปลายปี 2513 ตามที่กล่าวไปแล้ว  และได้นิมนต์พระคณาจารย์ไปแล้วบางส่วน(36รูป)  ในขณะที่ออกใบบอกบุญใบนี้ พระกับกรรมการวัดที่รับหน้าที่ไปนิมนต์พระคณาจารย์มาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดนี้ ก็ยังอยู่ในระหว่างเดินทางออกนิมนต์พระคณาจารย์ โดยเดินทางไปในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย  เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมด และนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆ เพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่   ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ (ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ  จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ) ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์(รายนามที่2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้  ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี  แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่าน และกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆ โดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวาย ตามที่นับ ผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา 1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจ และเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมาก ถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย       

 

 

 

ราย นามพระคณาจารยที่ปรากฎในใบบอกบุญใบนี้ ยังคงมีเพียง 36 รูป ไม่ครบ 108 รูป  แต่ได้มีผู้นำรายชื่อพระคณาจารย์จากเอกสารชิ้นอื่นไปเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ ต่างๆมากมาย เมื่อเห็นครั้งแรกๆผมเองไม่ค่อยเชื่อ  คิดว่าเป็นการโปรโมทพระ ประมาณนั้นเสียมากกว่า เพราะหลักฐานที่เห็นก็มักเป็นเพียงใบถ่ายเอกสาร กับการ เล่าต่อๆกันมา เลยคิดว่าเป็นการโปรโมทพระซะละมั้ง แต่เมื่อมาเจอใบบอกบุญใบนี้ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง เลยทำท่าอยากจะเชื่อ แต่ก็ยังสงสัยอยู่ในเรื่องพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก  แต่เมื่อเทียบเคียงรายชื่อพระคณาจารย์ดู  ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะรายชื่อพระคณาจารย์ที่ทางวัดนิมนต์มาปลุกเสกไปตรงกับรายชื่อพระ คณาจารย์ที่เอามาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่าง ตรงกันหลายชื่อมากๆ (ในเว็บไซต์ต่างๆมีรายนามพระคณาจารย์ที่มีหลักฐานและพอจำได้อยู่ 89 รูป โดยข้อมูลระบุว่าได้ข้อมูลมาจากพระ จิรวัฒน์) ส่วนในใบบอกบุญที่พบเจอมา  มีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่ 36 รูป  เมื่อคัดรายชื่อที่ซ้ำกันออกไป จะมีรายชื่อพระคณาจารย์รวมแล้ว  105 รูป  ซึ่งคงขาดตกหายไปเพียง 3 รายชื่อเท่านั้น   ที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสกในยุคนั้น ตอนนี้ได้กลายเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศมากมาย หลายองค์ด้วยกัน  ซึ่งในตอนนั้นท่านอาจมีชื่อเสียงโด่งดัง เพียงแค่ในระดับภาคเท่านั้น เพราะยุคนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆไม่เฟื่องฟูเหมือนสมัยนี้ครับ

รายการ จัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น (อย่าลืมดูราคาด้วยนะครับ) ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้  แต่ที่พบเห็นมากคือเหรียญเนื้อทองแดง  พระกริ่ง พระชัย  นอกนั้น "หายาก"  แม้กระทั่งเหรียญหันข้างเนื้อนวโลหะซึ่งราคาตอนออกให้ทำบุญ เพียงแค่ 30 บาท บ่งบอกว่าต้นทุนการสร้างไม่แพง น่าจะมีปริมาณมาก แต่กลับกลายเป็นว่าพบเจอน้อยไม่ต่างไปจากเนื้อเงินและเงินลงยา ซึ่งคิดไปคิดมาน่าจะเป็นจริงแบบที่เค้าบอกกันอีกว่า แผ่นเงิน ทอง นาค ที่คณะกรรมการนิมนต์พระ นำติดตัวไปเพื่อให้พระคณาจารย์เขียนอักขระเลขยันต์ เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารสร้างพระ  ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาหลอมรวมกับเนื้อนวโลหะที่เตรียมไว้ แล้วรีดเป็นแผ่น แล้วนำมาปั๊มเป็นเหรียญนวโลหะเพื่อแจกให้กับคณะศิษย์ที่จะติดตามมากับพระ คณาจารย์จากจังหวัดต่างๆ เราจึงพบเห็นเหรียญเนื้อนวโลหะของวัดท่าเกวียนมีสีแปลกๆ  บางองค์แก่ไปในทางสีเงิน  บางองค์แก่ไปในทางสีเหลืองนวล อมทอง  บางองค์ออกสีกลับดำ  แถมยังมีบางองค์มีสองสามสีในองค์เดียวกัน  ที่หนักเข้าไปอีกคือบางองค์มีรอยจ้ำเงินทองนาค กระจายตัวอยู่ทั่วเหรียญ สวยงามมาก  บ่งบอกให้เห็นว่ามีแผ่นเงินทองนาคผสมเข้าไปด้วยจริงๆ ถ้าเจอเหรียญเนื้อนวโลหะแล้วลองส่อง สังเกตดูครับ  

ราย นามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ณ วัดท่าเกวียน  อำเภอพนมสารคาม  ฉะเชิงเทรา   เมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2514 รายชื่อชุดนี้คือชุดที่มีผู้นำมาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆครับ ผมได้ตัดรายชื่อที่ซ้ำกับใบบอกบุญด้านบนออก  แล้วนำมาเรียงลำดับต่อจากลำดับที่ 36 ลงมาครับ

37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี                                            

38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์                                       

40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์

41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา                                                   

42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

43. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร                                       

44. หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์

45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง                                               

46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

47. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี                                           

48. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

49. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช                 

50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์

51. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม                                    

52. หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด

53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร                                       

54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร                           

56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี                                         

58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม

59 หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร                          

60. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี

61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม                                 

62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม

63. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม                                    

64. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร

65. หลวงปู่ธูป วัดแค   กทม.                                                   

66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช

67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม                                         

68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา

69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช                                

70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)

71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี                                      

72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

73. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี                       

74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา                                       

76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่

77. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา                                        

78. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ 7

9. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์                                        

80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี

81. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา                                       

82. หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี

83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี                                   

84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี

85. หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง   ปทุมธานี                                     

86. พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี                                      

88. หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข   สมุทรสงคราม

89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม                                 

90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี

91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี                                         

92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี

93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์                         

94. พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา

95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม                                         

96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.

97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา                                     

98. พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา

99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา                                 

100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา

101.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา                               

102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

103. หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์                                        

104. หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี

105. หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง                                 

106. ...................................................................

107. .........................................................                   

108. ..................................................................


พระอดุลสารมุนี (หลวงพ่อจันทร์) วัดท่าเกวียน  

ประวัติ หลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน
พระนามเดิม จันทร์
นามสกุล อินทสร
ฉายา จนฺทวาโร
เกิด วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๓๗
สถานที่เกิด บ้านสระมะเขือ ตำบลสระมะเขือ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
บิดา นายแกน อันทสร
มารดา นางนา อินทสร
บรรพชา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ ณ วัดสระมะเขือ ตำบลสระมะเขือ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หล้า
อุปสมบท

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ ณ วัดท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระอุปัชฌาย์ พระครูสารธรรมสุนทร วัดจอมศรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดปา วัดจอมมณี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระอนุสาสนาจารย์ พระสมุห์ก้อย วัดมหาเจดีย์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

การศึกษา  
๒๔๕๐
ได้ ศึกษาอักขรสมัยอยู่ที่วัดสระมะเขือ จังหวัดปราจีนบุรี จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้จึงย้ายมาอยู่วัดท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคา จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๔๕๗
ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดท่าเกวียน ๑๐ ปี
๒๔๖๖
ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) จังหวัดพระนคร อยู่ในความอุปการะของพระครูวินัยธรเล็ก
๒๔๖๖
สอบได้ น.ธ.ตรี สำนักเรียนวัดราชบุรณะ พระนคร
๒๔๖๗
สอบได้ ป.ธ.๓ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๖๘
สอบได้ น.ธ.โท สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๖๙
สอบได้ ป.ธ.๔ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๗๐
สอบได้ ป.ธ.๕ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๗๔
สอบได้ ป.ธ.๖ สำนักเรียนวัดราชบุรณะ พระนคร
หน้าที่การงาน  
๒๔๗๑
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดราชบูรณะ พระนคร
๒๔๗๓
เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๔๗๓
ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียนให้เป็นผู้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดท่าเกวียน เปิดสอนทั้งแผนกธรรมและบาลี
๒๔๗๘
เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา             เป็นเจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม             เป็นพระอุปัชฌาย์
๒๔๙๘
เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"
ผลงาน  
  ๑. ได้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดท่าเกวียน เปิดสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้เปิดการศึกษาบาลีวิสามัญศึกษา (บาลีมัธยม) เป็นสาขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม อำเภอสัมพันธวงศ์ พระนคร เพื่อให้ภิกษุสามเณรในเขตอำเภอพนมสารคาม และเขตที่ใกล้เคียงได้มีสถานศึกษาเช่นเดียวกับภิกษุสามเณรในเมืองหลวง
  ๒. ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น อาทิ ก่อสร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฎีและอุโบสถทั้งที่วัดท่าเกวียนและวัดอื่นๆ ในอำเภอพนมสารคามและอำเำภอใกล้เคียง พร้อมทั้งให้คำปรีกษาแนะนำในการก่อสร้าง
  ๓. ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลโดยมีผู้บริจาคเงินช่วยในการก่อสร้างกระทรวง ศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนวัดท่าเกวียนสัยอุทิศ"
 

๔. ได้เชิญชวนสาธุชนให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนมัธยมต้น เป็นที่ดินจำนวน ๑๓ ไร่เศษ และได้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการได้รับอนุมัติให้เงินงบประมาณก่อ สร้างอาคารเรียน ๑ หลังและโรงฝึกงานอีก ๑ หลัง เรียกว่า "โรงเรียนพนมสารคาม"

  ๕. ได้เชิญชวนสาธุชนให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนมัธยม ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ได้เงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ซื้อที่ดินได้ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ต่อมาวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๙๙ ได้ซื้อเพิ่มอีก ๒ ไร่ ๙๖ ตารางวา เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นที่ดิน ๑๓ ไร่ ๙๖ ตารางวา จากนั้นได้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการจนได้รับอนุมัติให้เงินงบ ประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง เป็นเงิน จำนวน ๗๕๐,๐๐๐ บาท และให้ชื่อโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ว่า โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งเดียวและแห่งแรกของอำเภอพนมสารคาม
สมณศักดิ์  
๒๔๘๑
เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ที่ "พระครูอดุลคณูปถัมภ์)
๒๔๙๐
เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
๒๔๙๖
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระอดุลสารมุนี"
มรณภาพ  
 

เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เวลา ๑๒.๐๐ น. ด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมสิริอายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๕

เครดิตจากเวบ  http://www.taradpra.com/article.aspx?storeNo=4395&articleNO=1

http://www.pra8rew.com/index.php?topic=33.0

ราคา : 50,000.00 บาท
จำนวน : Pcs.