|
![]() | |
รหัสสินค้า | : 60-09-007 |
ชื่อสินค้า | : กริ่งมหาราช วัดเชตุพน ปี 2512 |
รายละเอียด | กริ่งมหาราช วัดเชตุพน ปี 2512 เนื้อนวะโลหะ
....สร้างในวโรกาส ถวายพระนาม "มหาราช" แด่ในหลวงฯ.... ....สังฆราชองค์ที่ 17 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุณณสิริ) อธิฐานจิต....
เป็นพระกริ่งที่ทางวัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในมหามงคลวโรกาสที่ทรงได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากปวงชนชาวไทยที่ได้ถวาย พระราชสมัญญานามต่อท้ายพระปรมาภิไธยว่า "มหาราช" โดยปกติแล้วการถวายพระราชสมัญญานาม "มหาราช" ในพระนามพระมหากษัตริย์นั้น จะถวายอดีตพระบูรพกษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ในอดีต แต่ด้วยพระราช กรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณ ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงบำเพ็ญเป็นอเนกอนันต์ต่อปวงชนชาวไทยนั้นมีมาตลอด นับแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการในวันทรงประกอบพระราช พิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และ พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยเป็นพยานยืนยันในการทูล เกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานาม "มหาราช" ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันแล้ว พระ กริ่งมหาราชนี้ ผู้ซึ่งผสมเนื้อโลหะและเป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระกริ่งมหาราช คือ พระอาจารย์ไสว สุมโน แห่งวัดราชนัดดาฯ ซึ่งได้ฝากผลงานการสร้างพระกริ่งไว้หลายรุ่น เช่น พระกริ่งนเรศวรมหาราชหลายๆ รุ่น พระกริ่งศรีนคร พระกริ่งวัดหนองจอก พระกริ่งจอมสุรินทร์ พระกริ่งตากสิน กริ่งธรรมาราชา กริ่งนางพญา กริ่งมหาราช ฯลฯ พระกริ่งมหาราช ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม พ.ศ.2512 ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระวันรัต" ทรงจุดเทียนชัยและประทับนั่งปรกเป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ 107 รูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสุดยอดเกจิอาจารย์แห่งยุค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ที่ รับนิมนต์มาปลุกเสก ทว่าท่านทราบล่วงหน้าว่าจะละสังขารจึงได้มอบแผ่นจารอักขระไว้เพื่อหลอมเป็น ชนวนโลหะในการสร้างพระกริ่งมหาราชนี้ด้วย ซึ่งจากรายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย 1.พระครูพิศิษฐอรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช 2.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม 3.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร 4.พระญาณวิลาส (แดง) วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี 5.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง (พระอาจารย์ในหลวง) 6.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี 7.พระครูครุกิจจานุการ (เกลื้อม) วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) ภูเก็ต 8.หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง 9.หลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี 10.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี 11.หลวง พ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม 12.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 13.พระเทพสาครบุรี (แก้ว) วัดช่องลม สมุทรสาคร 14.พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (สาย) วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร 15.พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร 16.พระ อาจารย์ผล วัดบางน้ำจืด สมุทรสาคร 17.พระครูประภัศรวุฒิกร (สงัด) วัดกลางวรวิหาร สมุทรปราการ 18.พระครูภาวนานุโยค (หอม) วัดชานหมาก ระยอง 19.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี 20.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี 21.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม 22.หลวงพ่อเพ็ชร ธัมมโชโต วัดสุขวัฒนาราม 23.พระอาจารย์ริม รัตนมณี วัดอุทุมพร สุรินทร์ 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง นครราชสีมา 25.พระศีลวิสุทโธ (พระอาจารย์โล) วัดหัวสะพาน นครราชสีมา 26.พระ อาจารย์เทียม วัดหนองจิก พระนครศรีอยุธยา 27.พระครูปลัดพรหม (พรหม) วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา 28.พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์ ศรีสะเกษ 29.พระราชสุธี วัดเชียงราย ลำปาง 30.พระอินทวิชยานนท์ วัดคตึกเชียงมั่น ลำปาง 31.พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อคำตวง เชียงใหม่ 32.พระอธิการเสนอ วัดเกตุ เชียงใหม่ 33.พระอธิการสิงห์คำ วัดล่ามช้าง เชียงใหม่ 34.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (จวน) วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี 35.พระครูปัญญาโชติวัฒน์ (เจริญ) วัดทองนพคุณ เพชรบุรี 36.พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ 37.พระปลัดลำไย ปิยวัณโณ วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี ภาย หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้อัญเชิญพระกริ่งมหาราชทั้งหมดไปถวาย ท่านเจ้าคุณ นรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษที่พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส ทำให้พระกริ่งมหาราชได้รับการประกอบพิธีโดยพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณจำนวน 108 รูป อันเป็นเลขมงคลตามคติความเชื่อของไทยอันสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ทำให้พระกริ่งมหาราชมีความศักดิ์สิทธิ์เอกอุอย่างมิต้องสงสัย พระกริ่งมหาราช เป็นพระกริ่งที่ทางวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในมหามงคลวโรกาสที่ทรงได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากปวงชนชาวไทยที่ได้ถวาย พระราชสมัญญานามต่อท้ายพระปรมาภิไธยว่า "มหาราช" พระพิธีใหญ่มาก ชื่อเป็นมงคล "มหาราช" เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 9 มหาราช พระกริ่งมหาราช สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) สร้างขึ้นเมื่อปี 2512 สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต พุทธ ศิลป์ เป็นพระกริ่งขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ถอดแบบมาจากพระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีพระเกจิอาจารย์สมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากถึง 108 คณาจารย์ ปลุกเสก 3 วัน 3 คืน รายนามพระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสก อาทิเช่น สมเด็จปุ่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อเงิน หลวงปู่ทิม ฯลฯ รุ่น นี้นายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นนายช่างผู้แกะพิมพ์ ซึ่งท่านฝากผลงานในรูปแบบพระเครื่อง ขนาดเล็ก เช่น พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ไว้มากมายโดยในรอบระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2510-2535 และที่รู้จักกันดีก็คือ พระกริ่งอาจารย์ไสว รุ่นต่าง ๆ และรุ่นที่พระอาจารย์ไสวเป็นเจ้าพิธีทำการผสมเนื้อโลหะและเททองเองเช่น พระกริ่งจอมสุรินทร์ปี 2513, พระกริ่งมหาราชวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ปี 2512, พระกริ่งนเรศวรเมืองงายปี พ.ศ. 2512, พระกริ่งศรีนคร, พระกริ่ง จปร.วัดราชบพิธปี 2513, พระกริ่งอวโลกิเตศวร หลวงพ่อเกษม เขมโกปี 2518, พระกริ่งนางพญา, พระกริ่งธรรมราชา, พระกริ่งตากสิน, พระกริ่งลพบุรี, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, พระกริ่งเอกาทศรถ ฯลฯ ก็ได้อาศัยฝีมือนายช่างเกษมมาทำการ ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ พร้อมควบคุมการผลิต ซึ่งพระแต่ละรุ่นที่ผ่านมือช่างเกษม ล้วนแต่งดงามและสุดยอดทั้งนั้น พระกริ่งมหาราชนี้ ผู้ซึ่งผสมเนื้อโลหะและเป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระกริ่งมหาราช คือ พระอาจารย์ไสว สุมโน พระกริ่งมหาราช ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม พ.ศ.2512 ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระวันรัต" ทรงจุดเทียนชัยและประทับนั่งปรกเป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ 107 รูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสุดยอดเกจิอาจารย์แห่งยุค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ที่รับนิมนต์มาปลุกเสก ทว่าท่านทราบล่วงหน้าว่าจะละสังขารจึงได้มอบแผ่นจารอักขระไว้เพื่อหลอมเป็น ชนวนโลหะในการสร้างพระกริ่งมหาราชนี้ด้วย ซึ่งจากรายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย 1.พระครูพิศิษฐอรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช 2.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม 3.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร 4.พระญาณวิลาส (แดง) วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี 5.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง 6.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี 7..หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง 8.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี 9.หลวง พ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม 10.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 11.พระเทพสาครบุรี (แก้ว) วัดช่องลม สมุทรสาคร 12พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (สาย) วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร 13.พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร 14.พระครูภาวนานุโยค (หอม) วัดชานหมาก ระยอง 15.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี 16.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม 17.พระ อาจารย์เทียม วัดหนองจิก พระนครศรีอยุธยา 18.พระครูปลัดพรหม (พรหม) วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา 19.พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์ ศรีสะเกษ 20.พระครูปัญญาโชติวัฒน์ (เจริญ) วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ฯลฯ ภาย หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้อัญเชิญพระกริ่งมหาราชทั้งหมดไปถวาย ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษที่พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส ทำให้พระกริ่งมหาราชได้รับการประกอบพิธีโดยพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณจำนวน 108 รูป อันเป็นเลขมงคลตามคติความเชื่อของไทยอันสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ขอขอบคุณเจ้าของบทความครับ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakkwTURFMU5RPT0= |