Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


พระวชิรมงกุฎ ครบ100 ปีวัดมงกุฎ ปี2510

พระวชิรมงกุฎ ครบ100 ปีวัดมงกุฎ ปี2510
รหัสสินค้า : 60-09-008
ชื่อสินค้า : พระวชิรมงกุฎ ครบ100 ปีวัดมงกุฎ ปี2510
รายละเอียด

 พระวชิรมงกุฎ ครบ100 ปีวัดมงกุฎ ปี2510

เนื้อนวะโลหะ , พิมพ์กลาง,เล็ก และพระชัยวัฒน์

.....ในหลวง ร.9 เสด็จเททองหล่อ.....

 

 


พระวชิรมงกุฎ  ครบ 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ฯ ปี 2510 (ในหลวงเสด็จฯเททอง) 

 

  •         

     

    ซึ่ง หลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการ แล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อนจากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น หลวง ปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

    และ ในปี ในปี พ.ศ. 2511 วัดมกุฏกษัตริ

    ยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชาโดยมีเหตุผลในการจัดสร้างดังนี้ “พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ผู้ทรงสถาปนา วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงมีพระปรมาภิไธยเดิมเมื่อ ครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ” และพระนามฉายาทางพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์) ว่า “พระวชิรญาโณภิกขุ” อีกทั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชปนัดดาก็มีคำต้นพระนามว่า “วชิรญาณ” อีกด้วยดังนั้นจึงเห็นควรถวายพระนาม “พระพุทธรูป” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ว่า “พระวชิรมงกุฏ” หรือ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” ส่วน “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ถวายพระนามว่า “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ”

    วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้

    1.พระบูชา 9 นิ้ว "พระพุทธวชิรมงกุฎ"  มี 2 เนื้อ คือ นวโลหะ และ สำริด ไม่ระบุจำนวนสร้าง

    2.พระบูชา 7 นิ้ว "พระพุทธวชิรมงกุฎ"  มี 2 เนื้อ คือ นวโลห

    ะ และ สำริด ไม่ระบุจำนวนสร้าง

    3. “พระกริ่งพิมพ์ใหญ่” ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร  ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า “มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต” หมายความว่า “ครบ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม” และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี  สร้างแค่เนื้อนวโลหะ

    4. “กริ่งพิมพ์กลาง” มี ขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตร เป็นปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระ

    สังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา  มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ

    5. “พระกริ่งพิมพ์เล็ก (พิมพ์พิเศษ)” ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่ แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณ เป็นพิเศษ  มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ

    6. "พระชัยวัฒน์"    ขนาดหน้าตัก 1 เซนติเมตร ปางประทานพร เป็นพระชัยวัฒน์ที่ สังฆราชจวน เสด็จเททองเป็นปฐมฤกษ์ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2  มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ

    โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี “พิมพ์ใหญ่” เท่านั้นที่สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” เพียงเนื้อเดียว 

    ส่วน “พิมพ์กลาง” และ “พิมพ์เล็ก (พิมพ์พิเศษ)” สร้างไว้ 2 เนื้อคือ “ทองคำ”  และ “นวโลหะ  , พระชัยวัฒน์ มี 2 เนื้อ  "ทองคำ"  และ  "นวโลหะ"

    7.เหรียญที่ระลึกกลม 

     

    8.เหรียญที่ระลึกอาร์ม

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถระ) ทรงเป็น "สมเด็จพระบรมราชกรรมวาจาจารย์" ในพระราชพิธี "ในหลวงทรงผนวช ปี 2499"

    เมื่อทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันทรงดำรงภิกขุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9) วัดเบญมบพิตร พระอนุศาสนาจารย์ ถวายอนุศาสน์  

     


     

     

    พระกริ่งวชิรมงกุฏ วัดมกุฎกษัตริย์ฯ อ.ไสว เจ้าพิธี พิมพ์ใหญ่ พ.ศ. 2511 พระกริ่งวชิรมงกุฏ สร้างในวาระครบ ๑๐๐ ปี วัดมงกุฏ และครบรอบ ๗๐ พรรษา สมเด็จสังฆราช (จวน) โดยในทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อนจากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น

    -หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
    -หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
    -หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    -หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
    -หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
    -หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
    -หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
    -หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    -พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ 


     ใน ปี พ.ศ. 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 และได้จัดสร้างมงคลวัตถุเป็นที่ระลึกได้แก่ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และได้ถวายพระนามว่า **พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ**เป็นงานใหญ่มากๆ ในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเททองมีพิธีพุทธาภิเษาครั้งที่ 2 อีก 3 คืน เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฎ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธี ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่าง ๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฎกษัตริยารามอีก 3 ครั้งคือ เมื่อวันอังคาร ที่ 9 วันพุธ ที่ 10 และวันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2511 พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์และคาถาจุดเทียนชัย ในพิธีพุทธาภิเษกวชิรมงกฎและพระชัยวัฒน์ พร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ

    วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก

    1 พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร

    2 พระธรรมกิตติโสภณ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร

    3 พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร

    4 พระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร

    5 พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร

    6 พระธรรมโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร

    7 พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี

    8 พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี

    9 พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี

     วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก

    1 พระราชมุนี วัดปทุมานาราม จังหวัดพระนคร

    2 พระวรพรตปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี

    3 พระครูพิพิธวิหารการ วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    4 พระครูโกวิทสมานคุณ วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม

    5 พระครูสุตาธิการี วัดใหม่หนองพระอง จังหวัดสมุทรสงคราม

    6 พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    7 พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัด จังหวัดสุพรรณบุรี

    8 พระอาจารย์กี่ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี

    9 พระครูสมห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร 

    วันพุธ ที่ 10 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดชนะสงคราม 4 รูป และวัดอโศกราม 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก

    1 พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    2 พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดพระนคร

    3 พระครูโศภนกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี

    4 พระอาจารย์คล้าย วัดดวงดี จังหวัดนครศรีธรรมราช

    5 พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี

    6 พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี

    7 พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี

    8 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร 

    วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดอโศกราม 3 ชุด ๆ ละ 4 รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก

    1 พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ

    2 พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ

    3 พระครูสันตวรญาณ วัดสันติวัน จังหวัดเชียงใหม่

    4 พระอาจาย์ฝั้น วัดป่านาหัวช้าง จังหวัดสกลนคร

    5 พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวงาม จังหวัดอุดรธานี

    6 พระสุนทรธรรมภาณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น

    7 พระสุธรรมคณาจารย์ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

    8 พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

    9 พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี 


     

     


     วัตถุมงคล ครบ 100 ปี วัดมงกุฎกษัตริยาราม ปี 2511


    พระกริ่งธรรมสามิตร  วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีเดียวกับพระกริ่งวชิรมงกุฏ
    รูปและข้อมูลจากคุณwirat999

    พระกริ่งธรรมสามิตร  วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 พิธี 100ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ชื่อเรียกในใบฝอยคือ พระปางห้ามสมุทร บางท่านเรียกพระปางปฐมเทศนา เป็นพระเครื่องที่หายาก สร้างพร้อมกับ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ซึ่งในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเททอง พิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ "พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)" และ "พระกริ่งวชิรมงกุฏ" ในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี และจัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกถึง 3 วันด้วยกันคือ วันที่ 9-11 ม.ค.2511 มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกทั้งสายพระเกจิอาจารย์และสายวิปัสสนา

    ข้อมูลการสร้าง พระกริ่งวัดมกุฏกษัตริยาราม
    ข้อมูลการสร้าง พระกริ่งวัดมกุฏกษัตริยาราม

    ในปี พ.ศ. 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 และได้จัดสร้างมงคลวัตถุเป็นที่ระลึกได้แก่ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และได้ถวายพระนามว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ เป็นงานใหญ่มากๆ ในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเททองมีพิธีพุทธาภิเษา ครั้งที่ 2 อีก 3 คืน เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฎ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธี ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่าง ๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฎกษัตริยารามอีก 3 ครั้งคือ เมื่อวันอังคาร ที่ 9 วันพุธ ที่ 10 และวันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2511 พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์และคาถาจุดเทียนชัย

    ในพิธีพุทธาภิเษกวชิรมงกฎและพระชัยวัฒน์ พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชา หน้าตัก 5นิ้ว เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราช วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก

    1 พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร
    2 พระธรรมกิตติโสภณ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร
    3 พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร
    4 พระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร
    5 พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร
    6 พระธรรมโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร
    7 พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี
    8 พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
    9 พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี

    วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
    1 พระราชมุนี วัดปทุมานาราม จังหวัดพระนคร
    2 พระวรพรตปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
    3 พระครูพิพิธวิหารการ วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    4 พระครูโกวิทสมานคุณ วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
    5 พระครูสุตาธิการี วัดใหม่หนองพระอง จังหวัดสมุทรสงคราม
    6 พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    7 พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
    8 พระอาจารย์กี่ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี
    9 พระครูสมห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร

    วันพุธ ที่ 10 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดชนะสงคราม 4 รูป และวัดอโศกราม 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
    1 พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    2 พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดพระนคร
    3 พระครูโศภนกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี
    4 พระอาจารย์คล้าย วัดจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
    5 พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
    6 พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี
    7 พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
    8 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร

    วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดอโศกราม 3 ชุด ๆ ละ 4 รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก
    1 พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
    2 พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
    3 พระครูสันตวรญาณ วัดสันติวัน จังหวัดเชียงใหม่
    4 พระอาจาย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
    5 พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวงาม จังหวัดอุดรธานี
    6 พระสุนทรธรรมภาณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
    7 พระสุธรรมคณาจารย์ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    8 พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาล จังหวัดอุดรธานี
    9 พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี

    รูปและข้อมูลจากคุณwirat999

    เครดิตจากเวบ http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8F%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html


     

ราคา : 50,000.00 บาท
จำนวน : Pcs.