|
| |
รหัสสินค้า | : 64-09-003 |
ชื่อสินค้า | : เหรียญที่ระลึก เขาชีจรรย์ ปี 2538 ทองคำ 40ก. ขัดเงาหนา2เท่า |
รายละเอียด | เหรียญที่ระลึกพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา เขาชีจรรย์ ปี 2538 เนื้อทองคำ 1.ธรรมดา หนัก 20 กรัม สร้าง 5,000 เหรียญ 2.ขัดเงา หนัก 20 กรัม สร้าง 5,000 เหรียญ 3.ขัดเงาหนาพิเศษ หนัก 40 กรัม สร้าง 300 เหรียญ
พิธีพุทธมหามังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 20 ธค.38 เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองศิริราชย์สมบัติครบ 50 ปี ในปีพ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก ที่หน้าผาเขาชีจรรย์ถวายเป็นพระราชกุศล เป็นโครงการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก(ลักษณะพระฉาย) ขนาดใหญ่ซึ่งไม่เคยมีการจัดสร้างมาก่อนในประเทศไทย โดยมีการประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งสิ้น 150 ล้านบาท และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" มีความหมายว่า "พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาที่รุ่งเรืองสว่างประเสริฐดุจดังมหาวชิร" ในการนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสบามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์รองประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้มีพระราชวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันทรงคุณูปการเพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกรทุกหมู่ เหล่า โดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ใดๆ มาโดยตลอด คณะอนุกรรมการ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเหรียญที่ระลึกฯ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระบุญญาธิการของพระองค์ท่าน และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้มีส่วนร่วมแสดงความจงรักภักดี บำเพ็ญกุศลถวาย ในวโรกาสอันประเสริฐยิ่งนี้. ข้อมูลวัดเขาชีจรรย์พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา เป็น พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ .ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่ .พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯมหาราชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ด้าน หน้ามีลานอเนกประสงค์ มีการจัดสวนต้นไมไว้ได้อย่างสวยงาม สถานที่มองไปเป็นที่ราบเชิงเขา และ เขาแกะสลักรูปพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ไว้ที่ผนังอย่างงดงามชัดเจน ประวัติการสร้าง จาก การสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมีความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจาก ระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหินฟิล ไลต์, หินฉนวน,และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่ สง่างามตามธรรมชาติ .แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คง ชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วย การสร้าง พระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธ รูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดยคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ..ได้กำหนดข้อยุติให้สร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระ พุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้าน นาขนาด ความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตร.. รวมความสูงของ องค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระม หากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่อง สว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ การบริการ ให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และ ปฎิบัติตามป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด... และงดเสียงดังและควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่า ที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้สถานที่แห่งนี้จะ อยู่ใกล้กับอเนก กุศลศาลาและวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบัน พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ...แห่งนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป เครดิตจากเวบ http://www.paiteaw.com/provinces/chonburi/guide/2/ |